บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์ 10, 2019

ตั้งไข่ปฏิบัติธรรมคืออะไร?

รูปภาพ
หลายท่านปฏิบัติธรรมแล้วจะต้อง “หลงทาง” ทุกคน ทำไมหรือ ก็เพราะไม่มีใครตรัสรู้มาก่อน ทุกคนเริ่มต้นจากอวิชชากันทั้งนั้น เริ่มต้นจากไม่รู้แล้วลองผิดลองถูกกันทั้งนั้น ดังนั้น “สติตัวแรกคือรู้ว่าเราหลงอย่างไร?”   เราก็จะเริ่มต้นตั้งไข่ในการปฏิบัติธรรมได้ ในบทความนี้ขออธิบายเรื่อง “ การตั้งไข่ ปฏิบัติธรรม”   ดังต่อไปนี้ ๑ กลับมาฐานกายฐานจิต มีคนจำนวนมากเตลิดไปไกลแต่เขาไม่รู้ตัวว่าเขาเตลิดไปไกลแค่ไหน? คือ เวลาเราหลงทางกว่าจะรู้ตัวบางทีก็ใช้เวลานาน จริงไหมครับ? ทำไงดีเอ่ย? ก็มีสติครับ กลับมาที่พื้นฐานก่อนคือฐานกายฐานจิต อย่าให้เตลิดไปไกล ไปนานเกิน หลวงพ่อสดกล่าวไว้ว่า “หยุดคือตัวสำเร็จ” อันนี้สติของจริงแท้แน่นอน คือ เรามีสติรู้ตัวว่าหลงทางละ เราต้องหยุดให้เป็นครับ พอเราหยุดปั้บสติมันจะพาเรากลับมาที่ฐานกายฐานจิตเรียกว่ามีสติรู้ตัวทั่วพร้อมละ เราจะเริ่มได้สติว่าเออ เฮ้ย นั่นมันไม่ใช่เรานะ เราจริงๆ ไม่ได้ต้องการแบบนั้นนี่ นี่เราเตลิดไปไกลเลย เพื่อนลากพาเราไปหรือสังคมลากพาเราไป? การหล่อหลอมการสอนลากพาเราไปเสียไกลเลย                                                                    

ยุคแห่งการอวตาร

รูปภาพ
สัตว์โลกที่ได้เกิดเป็นมนุษย์และละยุคไม่เหมือนกัน ด้วยบุญกรรมทำแต่งมาไม่เหมือนกัน ในยุคปัจจุบันคือยุคของการอวตาร แต่ละคนจะไม่เหมือนตัวตนดั้งเดิมที่ตนเคยเป็น เราเหมือนต้องสวมหัวโขนเป็นสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่ตัวเราจริงๆ จนชาติสุดท้ายก็จะหลุดพ้น ในบทความนี้ขออธิบายเรื่อง “ ยุคแห่งการอวตาร ”   ดังต่อไปนี้ ๑ การอวตารคืออะไร? การอวตารคือ การที่เราเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิมเมื่อลงมาเกิดครับ เช่น พระนารายณ์เดิมมีสี่กร แต่พอลงมาเกิดเป็นพระรามแล้วจะมีแค่สองมือเหมือนมนุษย์ทั่วไป การอวตารจำเป็นต้องมีเพื่อ “ให้สอดคล้องกับยุคสมัย” เช่น หากสรรพสัตว์มากมายมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วเสื่อมกลายเป็นปีศาจในร่างคน พระโพธิสัตว์จะอวตารเป็นปีศาจบ้างก็ได้ เพื่อจะได้เรียนรู้และเข้าใจวิสัยของสัตว์เหล่านั้น จากนั้นก็ปฏิบัติธรรมจนหลุดพ้น แล้วนำทางสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้หลุดพ้นตามตน หากเราไม่ยอมอวตาร ติดอยู่ในความเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราจะไม่เข้าใจสรรพสัตว์ได้ครับ เราจะคิดเหมือนพระเจ้าว่าทำไมสัตว์โลกนั้นหลงโลกจัง ล้างโลกเลยดีมั้ย?                                                                                      

ใช้ชีวิตด้วยอิทัปปัจจยตา

รูปภาพ
“การเหมารวมว่าทุกอย่างว่างเปล่า ปฏิเสธความมีเหตุผลแบบอิทัปปัจจยตาคือมิจฉาทิฐิแบบ หนึ่ง ” เพราะความเป็นจริงนั้น ทุกสิ่งไม่ได้ว่างเปล่าอยู่ตลอด แต่มีพลวัตรเกิดดับไม่เที่ยง ดิ้นได้เหมือนปลาเป็นไม่ใช่ปลาตายลอยตามน้ำไปวันๆ ก็หาไม่ ในบทความนี้ขออธิบายเรื่อง “การใช้ชีวิตด้วยอิทัปปัจจยตา”   ดังต่อไปนี้ ๑ อย่านั่งทื่อบื้อใบ้รอนิพพาน หลายท่านคิดว่าพระอรหันต์ต้องนั่งนิ่งบื้อใบ้เป็นพระอิฐพระปูนที่เขากราบไหว้ทุกวัน พระหลายรูปก็ชอบทำตัวแบบนั้นเพื่อให้คนเขาคิดว่าเป็นพระอรหันต์เสียด้วยสิ ไม่ใช่นะครับ การนั่งทื่อบื้อใบ้รอนิพพานไม่ใช่วิถีของผู้มีปัญญาจริงแต่เป็น “ความหลงในรูป” อย่าง หนึ่ง หลงในรูปอย่างไร? ก็หลงในรูปแบบแห่งความนิ่ง ความว่างเปล่าหรือนิพพานว่าเป็นความถูกต้องแบบตายตัว ไม่มีพลวัตร ไม่มีอนิจจัง ไม่พลิกแพลงพลิกผัน นี่ไม่ใช่ลักษณะของความจริงครับ ลักษณะของความจริงสามประการเรียกว่า “ไตรลักษณ์” ได้แก่ อนิจจัง, ทุกขัง และอนัตตานั้น มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เกิดดับได้เป็นธรรมดา ไม่ได้แน่นิ่งตายตัวอย่างนั้นครับ                                                                          

จิตวิญญาณต่างกัน ตายต่างกันอย่างไร?

รูปภาพ
จิตวิญญาณในร่างนั้นส่งผลต่อรูปแบบการตายได้ต่างกัน สามารถทำนายและสังเกตุได้แม้ว่าจะไม่เสมอไปทั้งหมดทุกกรณี แต่สามารถพิจารณาดูความเป็นไปได้ส่วนใหญ่ได้ นอกจากนี้ ผู้มีธรรมมักตายอย่างสงบไม่ค่อยทรมาน นี่คืออานิสงค์การของการปฏิบัติธรรม ในบทความนี้ขออธิบายเรื่องรูปแบบการตาย   ดังต่อไปนี้ ๑ การตายแบบมนุษย์ธรรมดา มนุษย์ธรรมดาจะตายอย่างมนุษย์ธรรมดา ถามว่า ตายแบบมนุษย์ธรรมดาคืออย่างไร? ก็คือ ป่วยตาย ตามธรรมชาติที่ว่า เกิด, แก่, เจ็บ, ตาย นั่นละ และจะป่วยไม่นาน คนที่ป่วยนานผิดปกติ ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดานะ บางคนอาจเป็นร่างของปอบได้ ข้อนี้หลายคนทราบดี แต่จะเชื่อหรือไม่ก็อีกเรื่อง คนที่ป่วยนานๆ แต่ไม่ตายนี่ผิดปกติมนุษย์แล้ว ถามว่าทำไมไม่ตาย? เพราะผีมันไม่ยอมออกจากร่าง มันก็ไม่ตายเสียที ผีมันมีฤทธิ์ ไม่ตายง่ายๆ แต่ร่างสังขารนั้นต้องตายแล้ว กลับไม่ตาย เห็นไหม มันดูได้ว่าการตายแบบผิดปกติมนุษย์นี้มีอยู่จริง เห็นได้จริง สังเกตุได้ไม่ยาก แต่ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่ามนุษย์ปกติตายอย่างไร? คือ ตายง่ายๆ ไงครับ                                                                                              

อวตารแห่งพระโพธิสัตว์

รูปภาพ
พระโพธิสัตว์ไม่จำเป็นต้องเกิดเป็นกษัตริย์หรือเศรษฐี อาจเกิดเป็นยาจกก็ได้ และส่วนใหญ่พระโพธิสัตว์จะอวตารเป็นคนชั้นล่าง ถามว่าทำไม? เพื่อเอาบุญมาช่วยคนชั้นล่างไงครับ เมื่ออวตารเป็นยาจกแล้วท่านจะไม่เหมือนยาจกธรรมดาทั่วไป ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่อง “อวตารแห่งพระโพธิสัตว์” ดังต่อไปนี้ครับ ๑ อวตารไม่จำเ ป็นต้องเป็นคนสำคัญ? ดังที่กล่าวแล้วว่าพระโพธิสัตว์ไม่จำเป็นกษัตริย์หรือเศรษฐี การอวตารนี้ก็เพื่อลงมาเรียนรู้และเข้าใจในสัตว์นั้นๆ เช่น เมื่ออยากโปรดคนยากจนก็มาเกิดเป็นคนยากจน บุญบารมีไม่จำเป็นต้องเบิกออกมาหมดและถ้าใครจน ก็ไม่ได้แปลว่าเขาไม่มีบุญบารมีครับ ส่วนใหญ่พระโพธิสัตว์มักนิยมเกิดมาเป็นคนจนในยุคหลังๆ ถ้าอยู่ในยุคระบอบกษัตริย์กำลังรุ่งเรือง ท่านอาจมาเกิดในตระกูลกษัตริย์เพราะทำกิจได้สะดวกกว่าแต่ยุคหลังนี้ เป็นคนธรรมดาก็ทำกิจได้เหมือนกัน แถมได้บารมีมากกว่าด้วยครับ เพราะทำด้วยจิตอาสาไม่ได้ทำเพราะเป็นกษัตริย์หรือเพราะมีชาติตระกูล การเกิดมาเป็นคนไม่สำคัญ ทำให้สร้างบารมีได้มากกว่าคนสำคัญครับ                                                                                        

ความจริงที่โลกปิดซ่อน?

รูปภาพ
โลกนี้มีความจริงซ่อนอยู่เป็นชั้นๆ คนที่มีจิตอยู่ชั้นล่างจะถูกปิดไม่ให้รู้ความจริงในชั้นที่สูงกว่า เหมือนนกที่เราเลี้ยงไว้ในกรง นกไม่รู้แบบที่เรารู้ โลกในระดับมิติที่สูงๆ มีความลับหลายอย่างซ่อนไว้แล้วหลอกให้คนชั้นล่างยอมรับและเชื่อในเรื่องบางเรื่องทั้งที่ไม่จริง ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องความลับของโลก ดังต่อไปนี้ ๑ การดำรงอยู่โดยไม่ทำงานของมนุษย์ วรรณะพราหมณ์และกษัตริย์ไม่ต้องทำงานก็ได้ อาศัยภาษีที่เก็บจากพวกไพร่ทาสก็พอแล้ว แต่พวกเขาจะไม่บอกไม่สอนเราในความจริงข้อนี้ว่ามนุษย์อยู่โดยไม่ต้องทำงานก็ได้ พระสมณโคดมรู้และสอนให้สาวกอยู่โดยอิสระไม่ต้องทำงานทางโลก บิณฑบาตรเพื่อยังชีพ แต่ท่านจะบอกเรื่องนี้ตรงๆ กับทุกคน “ไม่ได้” เพราะจะกระทบทางโลก นี่เรียกว่า “ความจริงที่ถูกปิดซ่อน” ไม่มีใครบอก ไม่มีใครสอน มีแต่คนหลอกลวงเราว่าให้ทำงานจะได้มีกิน ถ้าไม่ทำงานก็จะไม่มีกิน อย่าแบมือขอเงินพ่อแม่ ต้องหาเงินให้ได้เอง คนจะได้ยกย่อง สิ่งเหล่านี้คือคำสอนของ “ชนชั้นล่าง” ที่ไม่รู้จริง แต่มันไม่ใช่คำสอนของพวกพราหมณ์และกษัตริย์เลยครับ                                                              

ทำไมต้องอวตารมาทำกรรม?

รูปภาพ
ในบทความก่อนได้อธิบายว่าการไปสุขาวดีนั้นไปด้วยกรรมมาแล้วเพราะผู้ที่จะไปได้นั้นจะต้องผ่านนิพพานก่อน แต่หากนิพพานแล้วก็จบไปต่อไม่ได้ ดังนั้น จะต่อไปได้ก็ต้องทำกรรมให้ไม่นิพพาน ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องการอวตารลงมาทำกรรมร่วมกับปวงสัตว์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? ทำไมต้องมี ดังต่อไปนี้ครับ ๑ เพราะไม่มีกรรมร่วมกันมาก่อน หากมีสัตว์จำนวนล้านตนที่ไม่มีบุญกรรมเกี่ยวข้องกับเราเลย เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับเขาได้ไหม? ตอบว่า ไม่ได้ครับ หากเราจะฉุดช่วยเขา เราต้องมีกรรมเกี่ยวข้องกับเขาก่อน และหากเรามีบุญบารมีมากล้นแล้วเราจะทำบุญมากไปอีก ไม่ได้ เพราะพวกเขาจะทำบุญตามเราไม่ทัน ดังนั้น เราจำต้องหยุดทำบุญแล้วทำกรรมแทนที่ทำเช่นนี้ได้ “เราต้องมีบุญบารมีมากกว่าเขา” นะครับ ไม่ใช่มีบุญบารมีน้อยกว่าเขาแล้วยังไปทำกรรมใส่เขาอีก แบบนั้นไม่ได้ ดังนั้น สวรรค์มักให้เราลงมาทำกรรม เช่น ทำสงคราม และเรามักได้รับการยกย่องว่ายิ่งใหญ่ในการทำสงครามนั้น ทั้งๆ ที่จริงอาจเป็นเรื่องงี่เง่าก็ได้ รบกันไปทำไม? เข่นฆ่ากันไปทำไม? ใช่มั้ย