บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม 13, 2018

มรรคผลแห่งฆราวาสผู้ทรงธรรม

รูปภาพ
บทความที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวเกริ่นนำเป็นเบื้องต้นในเรื่องการปฏิบัติธรรมในเพศฆราวาสแบบพระทำได้อย่างไร? ซึ่ง เป็นเนื้อหาเชิง “มรรค” ไปแล้ว ในบทความนี้จะขออธิบายเพิ่มเติมในเชิง “ผล” บ้างว่าฆราวาสผู้ทรงธรรมนั้นควรเล็งผลการปฏิบัติธรรมอย่างไร? แบบใดได้บ้าง? เมื่อได้ผลจะเป็นเช่นไร? ดังต่อไปนี้ครับ ๑ ความไร้ ซึ่ง เพศฆราวาสแล้ว ฆราวาสนั้นจะมีเพศชายและเพศหญิง เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมสำเร็จผลได้ เพศฆราวาสจะหมดสิ้นไป จะเกิดเพศใหม่แทนที่ เช่น เพศพรหม, สมณะเพศ, มหาบุรุษเพศ ทั้งสามเพศนี้ไม่ใช่กระเทยหรือเพศที่สามนะครับ แต่เป็น “ภาวะเหนือเพศ” ซึ่ง จะเกิดได้จากความหลุดพ้นแล้วจากความเป็นเพศชายและเพศหญิง หลายท่านที่พยายามจะหลุดพ้นจากเพศหญิงแต่ยังไม่สำเร็จ ทำได้แค่เลียนแบบผู้ชายก็มี เช่น ผู้หญิงที่อยากบวชพระเป็นภิกษุณีให้เหมือนกับพระ เรียกร้องความเสมอภาคและสิทธิสตรี ผู้ชายบางคนพยายามจะหลุดพ้นจากความเป็นเพศชาย แต่กลับกลายเป็นกระเทยแทนก็มี ทั้งสองแบบนี้คือ ยังไม่สำเร็จมรรคผลทั้งคู่นะครับ ๒ ความมีระดับเหนือ ปุถุชนทั่วไป หากปฏิบัติธรรมแล้วยังเหมือนเดิม เป็นปุถุชนเช่นเดิมก็ไม่เรียกว่าได้มรรคผลอะ

ฆราวาสจะปฏิบัติแบบพระได้อย่างไร?

รูปภาพ
หลายคนมักชอบกล่าวว่าเป็นพระที่ใจก็ได้ ไม่ต้องบวช แต่น้อยคนนักที่จะเป็นพระที่ใจได้สำเร็จจริงๆ การได้มรรคผลเป็นพระที่ใจนั้น จิตวิญญาณข้างในจะเป็น “เทพสมณะ” เลยครับ คือ มีจีวรใส่เหมือนพระสงฆ์เลย ในบทความนี้ จะขอกล่าว ถึง เคล็ดลับในการปฏิบัติธรรมในเพศฆราวาสให้ได้เป็นพระที่ใจ ดังต่อไปนี้ครับ ๑ อัฏฐบริขารแบบฆราวาส พระสงฆ์จะมีอัฏฐบริขารอยู่แปดอย่าง ส่วนฆราวาสนั้นมีเครื่องมือเครื่องใช้มากมาย เอาง่ายๆ แค่เกษตรกร ก็มีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นร้อยๆ ชิ้น สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรหลายชนิดมาก อุกรณ์ที่ใช้ก็มากตามไปด้วย นี่ยังไม่เรียกว่าเรียบง่าย คนที่เรียบง่ายจริงจะใช้เครื่องมือแค่ไม่กี่ชนิด บางคนใช้ชนิดเดียวก็สามารถทำงานเพื่อมวลมนุษย์ได้มากมายแล้ว เช่น เทพที่มีของทิพย์ประจำกายเพียงแค่องค์ละชิ้นก็ทำกิจได้มากแล้วครับ ดังนั้น หากฆราวาสจะบำเพ็ญธรรมจริงๆ ก็จะมีลักษณะเรียบง่าย มีเครื่องมือเครื่องใช้น้อยชิ้น แต่ใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ คนที่บรรลุธรรมจริงๆ จะใช้ชีวิตเรียบง่ายจะมีเครื่องมือไม่มากแต่ใช้ได้จริงครับ ๒ เครื่องแต่งกายแบบฆราวาส พระสงฆ์จะสวมจีวรที่ได้จากการ “ชักบังสุกุล

คุณปฏิบัติธรรมพอดีกับตัวหรือเปล่า?

รูปภาพ
การปฏิบัติธรรมต้องมีความ “พอดี” กับตัวเราที่เราเป็นอยู่ ในบทความนี้จะแนะนำเคล็ดลับ ดังต่อไปนี้ครับ ๑ ต่อให้เห็นใครดี ก็เลียนแบบเขาไม่ได้ พระอรหันต์, พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ท่านจะดีแค่ไหนก็ตามแต่นั่นคือตัวท่าน เราทำได้คือ ศรัทธาหรือชื่นชมท่านไป แต่มิใช่ว่าเราจะไปทำตามอย่างท่าน เลียนแบบท่านได้นะ เพราะคนเราไม่เหมือนกัน บุญกรรมทำมาไม่เหมือนกัน เอาท่านเป็นแบบอย่าง แนวทางได้ แต่สุดท้าย เราจะรู้ว่าคนเราไม่เหมือนกัน บางอย่างเราจะทำตามเขาทั้งหมดก็ไม่ได้ เราคือ ฆราวาส เราจะไปเลียนแบบพระเขาไม่ได้ เราต้องปฏิบัติในแบบของฆราวาส ๒ เราเ ป็นสัตว์ในกลุ่มใด ก็ทำแบบนั้น ถ้าเราเป็นเสือ เราก็ต้องทำแบบเสือ ถ้าเราเป็นวัว เราก็ต้องทำแบบวัว ถามว่าเราเป็นแบบไหน? ถ้าเราเป็นฆราวาสเราก็ต้องปฏิบัติธรรมแบบฆราวาสครับ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แม้เราจะไม่เหมือนกันแต่เราก็มีความเป็นกลุ่ม เป็นสังคมของเราอยู่ ดังนั้น เราต้องดูตัวเองให้ดีว่าเราเป็นแบบไหน? กลุ่มไหน? เราก็ปฏิบัติแบบนั้น สัตว์ทุกประเภทจะมี “ผู้นำ” หรือจ่าฝูงของมันอยู่ นำทางให้เราปฏิบัติตาม แต่เราต้องหาฝูงเราให้เจอ ๓ จ่าฝูงจะเป็นเหมือนเรา กลุ่มเรา