บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม 27, 2019

การจุติลงในดอกบัว

รูปภาพ
“การเกิดจากดอกบัว” นั้นมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่าพระอุบลวรรณาเถรีเกิดจากดอกบัว ถามว่าเกิดได้อย่างไร? เรื่องราวการเกิดในดอกบัวนั้นมีพบอยู่หลายภพภูมิ ในบทความนี้ผู้เขียนจะขออธิบายตามที่ได้ปฏิบัติมาด้วยตนเองอาจจะต่างจากตำราต่างๆ ไม่มีในตำราใดๆ หากผิดพลาดต้องขออภัย ดังต่อไปนี้ครับ ๑ เหตุที่จุติลงในดอกบัว การปฏิสนธิจิตนั้นมีสองแบบใหญ่ๆ คือ การปฏิสนธิใกล้ขันธ์ห้าเก่า เช่น เมื่อคนตายลง จิตวิญญาณจะเกิดใหม่ใกล้ๆ ร่างเก่า เพราะยังมีความอาลัยในขันธ์ห้าเก่า แบบที่สองก็คือ การปฏิสนธิโดยไม่อาลัยในขันธ์ห้า แบบนี้ส่งผลให้เกิดใหม่โดยหลุดพ้นจากขันธ์เดิมและเกิดในดอกบัวหรือสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น นาจาเกิดครั้งแรกในไข่มุกสวรรค์ เกิดครั้งที่สองในดอกบัว, ซุนหง๋อคงเกิดครั้งแรกในหิน, เยี่ยหัวเกิดในดอกบัวทอง ฯลฯ เหล่านี้ก็ล้วนเกิดในสิ่งอื่นๆ ทั้งสิ้น การจุติลงในดอกบัวก็เป็นอีกสิ่งที่เกิดได้ครับ โดยเฉพาะในมิติทิพย์ เมื่อใดที่ผู้นั้นได้สละความอาลัยในขันธ์ทั้งห้าได้แล้ว เขาก็จะจุติลงในสิ่งอื่นๆ ไม่ใช่ครรภ์มารดา และไม่ใกล้กับขันธ์เดิม ๒ จุติในดอกบัวแตกต่างอย่างไร? ดังที่กล่าวแล้วว่าการปฏิสนธิใหม่ในภพภ

กับดักแห่งปัญญา

รูปภาพ
หลายคนไม่รู้จักใช้ “ปัญญา” เนื่องจากปัญญาไม่ใช่ความรู้หรือความคิดเห็นอะไรทั้งนั้นหลายคนชินกับการใช้สมองคิด, สมองรู้ ดังนั้น เขาจะไม่รู้จักการใช้ปัญญา คนที่มีปัญญานั้นอาจเหมือนคนโง่ที่ในหัวว่างเปล่าไม่มีความคิดหรือความรู้อะไรเลยก็ได้ ในบทความนี้จะขอนำเรื่องกับดักแห่งปัญญามาอธิบาย ดังต่อไปนี้ ๑ การเหมารวม เช่น เหมารวมว่าทุกอย่างคือความว่างเปล่า, ความไม่มีอะไรทั้งนั้น, ทุกอย่างคือนิพพาน ฯลฯ การเหมารวมแบบนี้เป็นผลมาจากความขี้เกียจเจริญสติ ขี้เกียจใช้ปัญญา เมื่อขี้เกียจมากๆ เข้าก็เหมารวม ตอบอยู่อย่างเดียวไม่ว่าจะเจอสถานการณ์ไหน เคยเห็นใครเป็นแบบนี้ไหมครับ เหมารวมอะไรก็ว่างเปล่า อะไรก็ไม่มีหรืออะไรก็ปล่อยวางๆ อยู่อย่างเดียวนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ปัญญานะครับ ปัญญาที่แท้จริงมันจะต้องประยุกต์และพลิกแพลงเข้ากับสถานการณ์ที่แตกต่างได้ในสถานการณ์ หนึ่ง อาจมีคำตอบอย่าง หนึ่ง แต่ในอีกสถานการณ์ หนึ่ง อาจมีคำตอบอีกแบบ หนึ่ง นี่เรียกว่า “พลิกแพลง” ไม่ใช่อะไรๆ ก็เหมารวมใช้คำตอบเดิมคำตอบเดียว ๒ ความตายตัว เช่น คำตอบที่แน่นอนตายตัวเกินไป ไม่มีการพลิกแพลงเข้ากับสถานการณ์ที่แตกต่างแบบนี้แ

ปฏิบัติธรรมแล้วเพี้ยนจะแก้อย่างไร?

รูปภาพ
ในบทความที่แล้วได้อธิบายเรื่อง “ความผิดเพี้ยนในผู้ปฏิบัติธรรม” มาแล้วว่ามีตัวอย่างอย่างไรบ้าง ถามว่าแล้วจะแก้ไขอย่างไร? ก็พอมีทางครับ แต่ไม่ง่าย เพราะบางคนหลงทางไปไกล เตลิดเปิดเปิงจนเกินจะรั้งได้ทัน การแก้ไขควรแก้ไขเร็วๆ แต่เนิ่นๆ ให้สติแรงๆ (อาจต้องด่า ) ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบาย ดังต่อไปนี้ ๑ อยู่กับความเ ป็นจริง อย่าไปอยู่กับตำรา, ทฤษฎี, หลักการ ฯลฯ อะไรทั้งนั้น เลิกครับ กลับมาอยู่กับชีวิตจริงๆ ความเป็นจริงของเราให้ได้ คุณพอแยกออกนะ ระหว่างโลกแห่งความจริง กับโลกแห่งความฝัน, จิตนนาการ, หลักการ, ทฤษฎีหรืออุดมการณ์ต่างๆ มันคนละอย่างกัน คนเราถ้าอยู่บนโลกแห่งความจริงแล้วเรียนรู้จากตำรา ถือตำราคือเครื่องมือที่ใช้ในชีวิตจริง ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หลายคนใช้ตำราไม่เป็น ถูกตำราใช้ เป็นทาสตำรา ก็จะมองว่าตำราคือความจริง ตรงนี้ละ คุณเริ่มหลุดจากโลกแห่งความจริงไปสู่โลกแห่งตำรา, อุดมการณ์ และทฤษฎีต่างๆ มีสติให้ไวๆ ครับ ก่อนที่จะ “หลุดลอย” ออกไปจากโลกแห่งความจริงมากเกินไป กลับมาตั้งฐานให้ได้ ๒ กลับมาตั้งฐานไวๆ มีสติไวๆ แล้วกลับมาที่ฐาน มีกี่ฐาน? มีสี่ฐานให้เลือกนะ ฐานกาย, ฐานเวทน

ความวิปริตผิดเพี้ยนในผู้ปฏิบัติธรรม

รูปภาพ
ปัจจุบันมีผู้สนใจปฏิบัติธรรมกันมาก ทว่า การปฏิบัติธรรมนั้นมีความเสี่ยง บางคนเป็นบ้า บางคนป่วยก็มี หลายคนไม่เข้าใจเรื่องนี้ ไม่รู้ว่าการปฏิบัติธรรมนั้นจำต้องมีผู้ดูแล หลายคนปฏิบัติธรรมเองไม่มีครูคอยที่จะเตือนสติ ก็หลงเตลิดผิดทิศผิดทางไปไม่มีใครเตือนสติให้ได้ ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบาย ดังต่อไปนี้ ๑ ธรรมะ วิปลาส กลุ่มนี้ปฏิบัติธรรมแล้วมีทิฐิที่ไม่ตรงตามจริง เห็นธรรมะ ธรรมชาติวิปริตผิดเพี้ยนออกไป เช่น เห็นทุกอย่างเป็นความว่างไปหมด ยึดติดความว่าง สร้างสัญญามั่นหมายไว้ในใจให้เป็นความว่างไปหมด ละเลยการทำความเข้าใจในเหตุผล พูดกับใครไม่มีเหตุผล ตรรกะผิดเพี้ยน เพราะไม่เข้าใจในอิทัปปัจจยตา แม้แต่หลวงปู่มั่นยังเคยสัญญาวิปลาสมาแล้ว คุณเป็นใคร มีดีกว่าหลวงปู่มั่นแค่ไหน? มาคิดว่าตัวเองจะไม่พลาด? แต่หลายคนไม่ได้คิดแบบนี้ หลายคน “ไม่รู้จักประมาณตนเอง” ธรรมะก็เหมือนงูพิษ จับผิด เข้าใจผิด ผิดหลัก ผิดประเด็นก็ถูกงูพิษฉกกัดได้ เตือนแล้วเตือนอีกก็ไม่ฟัง สุดท้าย ก็เกิดทิฐิวิปลาสจนไม่มีใครช่วยแก้ให้ได้ ๒ หลงตัวเอง กลุ่มนี้หลายท่านคงได้พบเจอผ่านตามาไม่มากก็น้อย คนเรานั้นเชื่อมั่นในตัวเองไม่

มนุษย์กับลิขิตสวรรค์

รูปภาพ
“มนุษย์ต้องเป็นไปตามสวรรค์ลิขิตเท่านั้นหรือ?” นี่คือ คำถามที่เรามักพบบ่อย และหลังๆ หลายท่านมักจะตอบว่า “เราลิขิตชีวิตเอง” ทว่า ลิขิตสวรรค์ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญเอาเสียเลยครับ เพราะลิขิตสวรรค์ก็มาจากกรรมที่เราทำนั่นเองครับ ในบทความนี้จะขออธิบายมนุษย์และลิขิตสวรรค์ให้เข้าใจตรงกัน ดังต่อไปนี้ ๑ ลิขิตสวรรค์มาจากไหน? เทพผู้ทำหน้าที่เขียนชะตามนุษย์นั้นจะเขียนจาก “กรรมในอดีตของเรา” และ “ผลในอนาคต” ที่จะเกิด เช่น ถ้าเลือกชะตาแบบนี้ ดีมากเลยแต่อนาคตไม่สำเร็จมรรคผล ท่านอาจไม่เขียนให้เรา ดังนั้น ชะตาของเราก็มาจากกรรมเราเองหรือก็คือ “เราเองน่ะละลิขิตมันเองจากอดีตชาติที่เราทำ” เทพก็เป็นเพียง “ผู้ช่วย” ที่มาดูแลกระบวนการต่างๆ ตะล่อมให้เราเดินไปตามทาง ไม่เป๋ออกนอกทางของเราจนเกินไป เพราะหากเราเป๋ออกนอกทางของเราที่เราลิขิตเอง ทำมาเอง มันก็จะเหมือนกับเศษฝุ่นที่กระจัดกระจายไร้ระเบียบและไม่อาจที่จะกลับคืนสู่บ้านแท้ของเราได้ตามกำหนดวาระ มันก็เท่านั้นเอง ท่านก็เลยมาช่วยดูแลเราตรงนี้ครับ ๒ ลิขิตสวรรค์มี หนึ่ง เดียวหรือ? ไม่ใช่ครับแล้วแต่ว่ามาจากแหล่งไหน เช่น จากสุขาวดี, จากพรหมโลก, จากพระ

ธรรมะเกินอินทรีย์เป็นไฉน?

รูปภาพ
“อินทรีย์ห้า” กับระดับของธรรมะต้องพอดีกัน หากใจร้อนเอาธรรมะสูงเกินไป จะเกิดปัญหาตามมาได้มาก เช่น เข้าใจผิด, ปฏิบัติผิดจนเกิดพิษภัย หลายท่านไม่รู้ตัวเองว่ากำลังอยู่ในภาวะ “ธรรมะเกินอินทรีย์” อยู่ มันคืออะไร? ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องสภาวะของธรรมะเกินอินทรีย์ให้เข้าใจตรงกัน ดังต่อไปนี้ ๑ พยายามมีธรรมะสูงเกินไป เกินกว่าอินทรีย์ห้าของตนเองจะรับได้ ผลคือ บางท่านสูญเสียจิตวิญญาณ, บางท่านปฏิบัติผิดเพี้ยน ฯลฯ ผลร้ายแรงตามมามากมายครับ ทว่า หลายท่านปฏิบัติไม่ ถึง ขั้นนี้จะไม่เข้าใจว่าเมื่อพยายามมีธรรมะเกินอินทรีย์แล้วผลจะเป็นอย่างไร? ภายนอกจะดูคนๆ นั้นเหมือนมีธรรมะสูงมาก แต่ชีวิตกลับแย่ลงก็มี บ้างก็มีผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจได้ เช่น อารมณ์ผิดไปจากปกติ, ร่างกายมีโรคภัยผิดปกติ ฯลฯ บางคนผมขาวโพลนไปเลยก็มี (พอบอกแบบนี้บางคนรีบไปย้อมผมทันทีเลยก็มีนะ ฮ่าๆๆ ) เหมือนเราเล่นกีฬาเกินกว่ากำลังที่เรามีน่ะละ เราอาจไม่รู้ตัว แต่เมื่อตรวจเช็คร่างกายแล้วกลับพบว่ามีผลเสียหายมากมายต่อตัวเอง ๒ รับธรรมะมากหรือสูงเกินไ ป การรับธรรมะมากหรือสูงเกินไปกว่าอินทรีย์จะรองรับได้ แม้จะไม่ได้พยายามจะมีธ

ความอ่อนน้อมถ่อมตนแบบผิดๆ

รูปภาพ
“ความอ่อนน้อมถ่อมตน” ไม่ใช่เรื่องการละสักกายทิฐิ หลายคนเอาแนวคิดนี้เข้ามาปนกับคำสอนในพุทธศาสนาด้วย แท้แล้วพุทธศาสนาไม่ได้สอนเรื่องนี้ เพราะการอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคำสอนของ “ลัทธิขงจื้อ” ต่างหากครับ ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องความเข้าใจผิดในเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตน ดังต่อไปนี้ ๑ ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่ควรจะเป็น การอ่อนน้อมถ่อมตนไปทั่วโดยไร้สติยั้งคิดและไม่แยกแยะนั้น ไม่ใช่วิถีของผู้มีปัญญา เราเป็นมนุษย์ไม่ใช่งูที่จะทำตัวราบติดไปกับดินอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ครับ คนที่ควรอ่อนน้อม เราก็ควรอ่อนน้อม คนที่ไม่ควรอ่อนน้อม เราก็ไม่ควรอ่อนน้อมให้ จริงไหมครับ? เราต้องรู้จักแยกแยะสิครับว่าอะไรควร อะไรไม่ควร ไม่ใช่ความอ่อนน้อมคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้วเราต้องทำกับทุกคนหรือทุกสถานการณ์ มันไม่ใช่ครับ มันอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ เราต้องพิจารณาไปตามสถานการณ์ตามกาลเทศะครับ หากเราติดหลงความอ่อนน้อมถ่อมตนเกินไป เราก็จะสูญเสียความอ่อนน้อมถ่อมตนที่แท้จริงแบบมนุษย์ เราจะได้ความอ่อนน้อมถ่อมตนแบบงูมาแทนที่ครับ ๒ การอ่อนน้อมกับคนที่ไม่ควรอ่อนน้อม เช่น การอ่อนน้อมกับคนที่หลอกให้เราหลงเดินทางผิด ชักนำเราไปในทาง