บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม 13, 2019

ชาติเดียวกลับบ้านเก่าเลยไหม?

รูปภาพ
“ทุกสิ่งย่อมมีวาระของมัน” ถามว่าหากเราจากบ้านเก่าเรามาเกิดในโลกนี้ หมดชาตินี้ชาติเดียวกลับได้เลยไหม? คำตอบคือ “ไม่จำเป็น” ถ้าเรามี “พันธสัญญา” ว่าจะอยู่ก่อนเพื่อทำกิจบางอย่าง ช่วยโลกหรือจะช่วยศาสนาใดก่อน เราก็อยู่ต่อได้ ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายให้เข้าใจว่า “วาระ” คืออะไร? ดังต่อไปนี้ ๑ พันธสัญญาคืออะไร? พันธสัญญาเป็นสิ่งที่เราสัญญากับใครบางคนไว้ว่า “เราจะทำบางสิ่งเพื่อเขา” เช่น มาช่วยเขาสร้างศาสนา, มาช่วยเขาปกป้องชาติบ้านเมือง, มาช่วยเขาสร้างโลก ฯลฯ เป็นไปได้มากมายครับ และเพราะพันธสัญญานี้ ทำให้เราต้องทำตามสัญญาให้เสร็จสิ้นก่อนเราจึ ง จะกลับ “บ้านเก่า” ของเราได้ จิตวิญญาณทั้งหลายนั้นมีพันธสัญญาไม่เหมือนกัน ย่อมมีวาระในการกลับบ้านไม่พร้อมกัน บางคนกลับก่อน บางคนกลับทีหลัง นี่ไม่มีใครผิดหรือถูก มันอยู่ที่เขามีพันธสัญญาต่อใคร ไว้อย่างไร? เช่น ผู้เขียนมีหลวงพ่อโตเป็นอาจารย์ และมีหน้าที่ต้องดูแลประเทศไทยตามคำทำนายของอาจารย์คือหลวงพ่อโต ไม่เสร็จกิจนี้ก็ยังกลับบ้านไม่ได้ ๒ ใครกลับได้ก่อน กลับเลย บางท่านจะสอนท่านว่า “ให้กลับบ้านเก่ากับเขาเลย” ก็ไม่ผิดอะไรครับ เพราะเขาอาจหมด

อุเบกขาที่หลายคนเข้าใจผิด?

รูปภาพ
หลายคนเข้าใจผิดใน “อุเบกขาบารมี” คือ เข้าใจว่าการวางเฉยเสียไม่สนใจอะไรก็ได้อุเบกขาบารมีแล้ว ยังไม่ใช่นะครับ หากเป็นเช่นนั้น คนขี้เกียจ, คนทำชั่ว, คนไม่ยอมสร้างบุญบารมี ก็จะมีอุเบกขาบารมีได้โดยไม่ต้องทำอะไร ซึ่ง ไม่จริง ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายให้เข้าใจว่าอุเบกขาที่แท้จริงคืออะไร? ดังต่อไปนี้ ๑ อุเบกขาหรือนิ่งดูดาย? หลายคนเข้าใจผิดว่าการอุเบกขาคือการที่เราไม่อะไรกับใครทั้งนั้น ไม่ใช่นะครับ ธรรมนี้จะเกิดเป็นลำดับไปคือ เมตตาก่อเกิดกรุณา, กรุณาก่อเกิดมุทิตา, มุทิตาก่อเกิดอุเบกขา นี่คือ การก่อเกิดตามหลักอิทัปปัจยตาในพรหมวิหารสี่ หากไม่มีเมตตาแล้ว อุเบกขาก็ไม่มี เช่น ถ้าเราเห็นคนทุกข์ตรงหน้า เราไม่มีใจเมตตาเขาแต่เราบอกว่า “เราอุเบกขาอยู่เลยไม่ทำอะไร” แบบนี้ ไม่ถูกครับ นี่ไม่ใช่อุเบกขาในพรหมวิหารสี่ เพราะอุเบกขาในพรหมวิหารสี่นั้น จะเกิดได้ต้องมีเมตตามาก่อน การกระทำของคนที่ไม่มีเมตตามาก่อน แล้วบอกว่าตนนี้ อุเบกขานั้นย่อมไม่จริง แต่แท้จริงแล้ว “เขากำลังนิ่งดูดาย” อยู่ต่างหาก หรือไม่ก็ขาดความเพียรที่จะบำเพ็ญ ๒ จะมีอุเบกขาได้ ต้องมีเมตตาก่อน ดังที่กล่าวแล้วว่าอุเบกขาจะเกิดตาม

การรับรองธรรมคืออะไร?

รูปภาพ
“เราบรรลุแล้วจริงไหม?มีใครรับรองธรรมให้เรา” นี่คือ คำถามที่คิดว่าหลายๆ คนอาจต้องเจอ แต่หลายคนมักอุปทานตอบกันเองว่า “ไม่จำเป็นต้องมีใครรับรองทั้งนั้น ฉันเชื่อของฉันอย่างนี้ ใครก็อย่ามายุ่งกับฉัน” อันนี้ ยังใช้ไม่ได้นะครับ ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายให้เข้าใจว่าการรับรองธรรมคืออะไร? ดังต่อไปนี้ ๑ ต้องมีคนมารับรองให้ไหม? การรับรองธรรมนั้นมิใช่การให้ใครสักคนมาบอกว่าเราสำเร็จธรรมแล้ว ไม่ใช่นะครับ แต่หมายความว่าเรามีอะไรรองรับผลของการกระทำอันเนื่องจากธรรมที่เราสำเร็จได้หรือไม่? เช่น หากเราตรัสรู้ธรรมเอง เราจะไม่มีสังคมธรรมรองรับ ไม่มีพุทธเกษตรรองรับ แต่หากเราบรรลุธรรมใน “ศาสนธรรม” ของพระพุทธเจ้า ท่านจะมีพุทธเกษตรรองรับให้ การมีพุทธเกษตร มีวิมานรองรับตรงนี้แหละครับที่เรียกว่า “การรับรองธรรม” ไม่ใช่การที่มีใครสักคนมากล่าวรับรองให้เราว่าเราบรรลุแล้ว ไม่ใช่นะครับ การรับรองธรรมก็คือ มีบารมีธรรมที่จะรองรับผลจากการกระทำของเราได้ เช่น หากมีสาวกติดตามเราตายแล้วไปอยู่ในวิมานเราได้ เราก็มีสาวกได้ ๒ ทำไมต้องมีบารมีธรรมรองรับ? ดังที่กล่าวแล้วว่าหากเรามีบารมีธรรมรองรับผลของการกระทำของเรา

เรื่องความว่างที่หลายคนเข้าใจผิด?

รูปภาพ
มีคนจำนวนมากคิดว่า “ทุกอย่างไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างล้วนเป็นความว่างเปล่า” ไม่ใช่นะครับ คิดแบบนั้นคือแนวคิดของลัทธินิรัตตา ไม่ใช่พุทธ พุทธเราไม่ได้สอนแบบเหมามั่วง่ายๆ แบบสรุปง่ายๆ ไปว่าอะไรก็ว่างไปหมด ว่างเปล่าหมดแบบนั้นแต่เขาให้ดูธาตุครับ ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายให้เข้าใจตรงกัน ดังต่อไปนี้ ๑ ธาตุทั้ง ๘ มีอะไรบ้าง ธาตุทั้ง ๘ ได้แก่ ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุลม, ธาตุไฟ, อากาสธาตุ, วิญญาณธาตุ, มโนธาตุ และนิพพานธาตุ ธาตุทั้ง ๘ ชนิดนี้ไม่เหมือนกันและอย่าเอามาบิดเบือนกันนะ เช่น อากาสธาตุก็คือความว่างเปล่า อะไรที่เป็นความว่างเปล่าคืออากาสธาตุ อะไรที่ไม่ใช่ความว่างเปล่าก็ไม่ใช่อากาสธาตุ เช่น วิญญาณธาตุ, มโนธาตุ และนิพพานธาตุ ทีนี้ คนที่เข้าใจผิด จะเหมาเอาว่าทุกอย่างเป็นอากาสธาตุหมด โดยเฉพาะพวกลัทธิ “นิรัตตา” พวกบ้าคลั่งความว่างเปล่า, ความไม่มี ในปรัชญาปารามิตสูตรบอกชัดเจนไม่ให้เราหลงความว่างว่า “ความว่างก็คือรูปน่ะละ” รูปคือความว่าง, ความว่างก็คือรูป การหลงความว่างก็คือ หลงรูปอย่าง หนึ่ง ๒ ความว่างเ ป็นรูปได้อย่างไร? รูปนั้นมี ๒๘ ชนิด ใน ๒๘ ชนิดนี้มีรูปที่เรียกว่า “ปริเฉทรูป” อย

วิชามารคืออะไร?

รูปภาพ
วิชามารคือวิชาที่ทำให้เราเหมือนสำเร็จธรรมจนดูไม่ออก แม้แต่พระอุปคุตก็เคยหลงไหว้พญามารมาแล้ว เพราะวิชามารนั้นทำให้ดูเหมือนสำเร็จธรรมจนดูไม่ออกนั่นเอง ทว่า วิชามารนั้นไม่ได้เจริญมรรคที่ถูกต้อง ทำให้ดูเหมือนแค่ผลหรือเปลือกนอกเท่านั้น ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายให้เข้าใจตรงกัน ดังต่อไปนี้ ๑ การบำเพ็ญธรรมในกำมือ เช่น การบำเพ็ญจนได้วัชระเป็นเพชรในมือแต่จิตวิญญาณไม่เปลี่ยนแปลงหรือเป็นมารเลยก็มี มารหลายตนมี “ธรรมในกำมือ” เมื่อดูด้วยตาทิพย์จะเห็นเป็นอาวุธทิพย์ที่เป็นเพชร อาวุธเหล่านี้ทำให้เขามีธรรมเหมือนพระอรหันต์ครับ เมื่อใช้ออกหรือพูดคุยออกมาจะเหมือนมีธรรมเลย แต่ตัวตนเขาจริงๆ จิตใจของเขาจริงๆ นี้กลับมิใช่ผู้มีธรรม เคยเห็นคนที่พูดธรรมะเก่ง ใช้ธรรมะปราบคนนั้นคนนี้ได้ แต่จิตใจกลับไม่เหมือนผู้มีธรรมมั้ย? บางคนจิตใจเต็มไปด้วยความอาฆาตแค้น จิตวิญญาณมืดดำเป็นมาร แต่ถืออาวุธทิพย์ที่มีธรรมในมือก็มี เขาเหล่านี้จะหลงว่าตัวเองก็มีธรรม จริงครับ มีธรรมในกำมือจริงๆ แต่จิตใจของเขากลับไม่มีธรรมะเลย ๒ การทำบุญแล้วอธิษฐาน วิธีนี้ไม่ใช่การเจริญมรรคที่ถูกต้องตามปกติ แต่จะใช้วิธีทำบุญแล้วอธิษฐานเอา

มหากรุณาอันแท้จริงคืออะไร?

รูปภาพ
หลายคนคิดว่าตัวเองมีพรหมวิหารสี่แล้ว เพราะใจดีมีเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย ทว่า หลายคนยังอาจจะได้แค่เมตตาเท่านั้นเอง แล้วติดอยู่กับเมตตา ไม่อาจก้าวหน้าต่อไปสู่ “กรุณา” ได้ เพราะอะไร? เพราะติดความดีมากเกินไป จึ ง ไม่เข้า ถึง มหากรุณาอันแท้จริง ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายให้เข้าใจตรงกัน ดังต่อไปนี้ ๑ ความเมตตาที่ทำร้ายคน? อย่างแรก เรามาเริ่มต้นจากหลัก “พรหมวิหารสี่” ก่อนนะครับ พื้นๆ ได้แก่ เมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา อันเมตตากับกรุณานั้น บางครั้ง “ตรงข้ามกัน” นะครับ แปลกไหม? เช่น แม่รักลูก เรียกว่าเมตตา แต่เพราะแม่รักลูกแม่จึ ง ต้องตีลูก การตีลูกก็คือ “กรุณา” นั่นเอง คือ แม้เรารักเขาแต่เราต้องทำร้ายเขา เหมือนตัวร้าย เพื่อให้เขาได้ดี ใช่ไหมครับ นี่แหละ “หัวใจสำคัญ” ที่ผู้เขียนอยากจะบอก เพราะหลายคนมีเมตตาที่เป็นพิษ หลงผิดคิดว่าจะต้องคิดดี, พูดดี, ทำดี เพื่อคนที่เรารัก ใครเคยมีลูก ผู้เขียนว่าน่าจะทราบดีนะ ทำไมเราต้องตีลูก ดุด่าเขา? เพื่อให้เขาได้ดีใช่ไหม? นี่แหละ ความกรุณานั้นบางครั้งมันกลับแสดงออกตรงข้ามกับเมตตา ๒ ยิ่ง กรุณามากยิ่งทำกรรมมาก ดังที่บอกแล้วว่ากรุณานั้นแสดงออกตรงข

รอบวัฏจักรแห่งการเกิดบนโลก

รูปภาพ
“สมมุติธรรมย่อมมีการเกิดดับเป็นธรรมดา” เพราะไม่ใช่วิมุติธรรม และไม่ควรเอามาปนกัน ในเรื่องการเกิดดับนั้นก็เรื่อง หนึ่ง เรื่องนิพพาน เรื่องวิมุติธรรมก็เรื่อง หนึ่ง แล้วแต่ว่าจะกล่าวธรรมระดับใด ในบทความนี้จะขออธิบายในหัวข้อรอบวัฏจักรในการเกิดบนโลกว่าในการเกิดบนโลก หนึ่ง รอบนั้นเป็นอย่างไร ดังต่อไปนี้ ๑ เข้าใจเรื่อง การเกิดดับ อย่างแรก เรามาปรับความเข้าใจในเรื่อง “การเกิดดับ” ก่อนนะครับ ว่าการเกิดดับนั้นเป็นแค่อาการของสิ่งสมมุติ และเป็นการอธิบายเฉพาะภาคส่วน “สมมุติธรรม” เท่านั้น อย่าเอาไปปนกับภาควิมุติธรรมเด็ดขาด เช่น อย่าเอาไปอธิบายเรื่องนิพพานครับ ทีนี้ เมื่อเราพูดเรื่องการเกิดดับ แสดงว่าเราพูดในระดับสมมุติธรรมนะครับ เก็จนะ และในกระบวนการเกิดดับนั้น “มิใช่ความว่างเปล่าหายสูญ” หากเข้าใจว่าเป็นเรื่องการดับสูญ ว่างเปล่าหรือไม่มีตัวตน ก็จะผิดเพี้ยนไปทางลัทธินิรัตตาทันทีครับ แต่จะบอกว่ามีตัวตนแท้ ก็ไม่ได้ครับ มิฉะนั้นจะเข้าทางลัทธิอาตมันอีก สรุปว่าการเกิดดับนี้เป็นธรรมดาของสิ่งสมมุติ ไม่ใช่ความว่างเปล่าครับ ๒ รอบวัฏจักรการเกิดดับคืออะไร? คำนี้ผู้เขียนสมมุติบัญญัติมาเอง เ