บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม 7, 2018

ลักษณะของธรรม ๕ สาย

รูปภาพ
ในบทความก่อนๆ ได้อธิบายแล้วว่าธรรมะนั้นมีแก่นแท้เดียวกันแต่เปลือกนอกแตกต่างกันได้ ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องนี้ต่อจากบทความก่อนๆ ครับ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง “สายธรรม” ต่างๆ ที่แตกต่างกันทั้งห้าสาย ซึ่ง เป็นสายธรรมที่พบได้บ่อยและน่าสนใจ ทว่า หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อแต่ไม่เข้าใจ ดังต่อไปนี้ครับ     ๑ “สายไภษัช” ธรรมเหมือนโอสถ ธรรมสายนี้อุปมาเหมือนโอสถรักษาโรค, ผู้ปฏิบัติธรรมอุปมาเหมือนคนไข้ พระพุทธเจ้าอุปมาเหมือนหมอ มีพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์สำคัญในสายธรรมนี้ หลักการของธรรมสายนี้คือ การวิเคราะห์จิต, จริตวิสัยของสัตว์ เหมือนหมอที่วินิจฉัยโรค เมื่อชัดเจนแล้วว่าเขาป่วยเป็นโรคอะไรก็จะต้องหาทางแก้ไข รักษาตามโรคที่เขาเป็น เช่น การใช้หลัก “พิษล้างพิษ” เป็นหลักการรักษาโรคที่พบได้บ่อย ธรรมะสายนี้มักมีลักษณะ “ปากหวานซ่อนพิษ” ใช้คำสละสลวย น่าฟัง ทว่า แฝงไว้ด้วยพิษเพื่อใช้พิษล้างพิษจากอวิชชาของผู้ฟัง เพราะผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ไม่มีใครเริ่มต้นจากรู้แจ้ง แต่เริ่มต้นจาก “อวิชชา” คือ ความไม่รู้มาก่อนทั้งสิ้น ๒ “สายวัชระ” กระแทกให้ตื่นแจ้ง ธรรมสายนี้อุปมาธรรมะเหมือนวัชระ

ความจริงที่ทำให้จิตตื่นแจ้ง

รูปภาพ
คนป่วยต่างคน กินยาต่างกัน เราจะใช้ยาของคนอื่นกับคนทุกคนไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น สัจธรรมความจริงที่ทำให้จิตตื่นแจ้ง สำหรับแต่ละคน “ย่อมไม่เหมือนกัน” เช่น บางคนตื่นแจ้งเพราะอริยสัจสี่ แต่บางคนกลับตื่นแจ้งเพราะมรรคแปดก็เป็นได้ ( ธรรม จึ ง เหมือนโอสถ ) ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้ครับ     ๑ จริตและจิตใจของคนเราต่างกัน ดังนั้น สัจธรรมที่ใช้ปลุกให้จิตของแต่ละคนตื่นแจ้งย่อมแตกต่างกันด้วย ในสมัยพุทธกาล พระสาวกบางรูป พระพุทธเจ้าท่านให้เพ่งอศุภพะกรรมฐาน ทว่า บางคนท่านกลับพาไปดูนางฟ้าแล้วหลอกล่อว่าหากบรรลุ ท่านจะให้นางฟ้าเป็นคู่ ก็มี เห็นไหมครับว่าสัจธรรมความจริงที่ทำให้คนเราตื่นแจ้งนั้น ไม่เหมือนกัน ทว่า ก็มีแก่นแท้เป็นสัจธรรมเดียวกันทั้งสิ้น ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึ ง มิได้เทศนาแค่เรื่องนิพพาน ทว่า ท่านกลับมีพระธรรมมากมาย ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ท่านก็เทศนาไปตามสถานการณ์และผู้ฟัง ยิ่งกว่านั้น ธรรมที่ท่านเคยเทศนาแล้วนำมาบอกพระอานนท์ต่อ พระอานนท์ฟังเข้าใจหมดแต่ไม่เคยบรรลุเพราะธรรมนั้นเลย ! ๒ ธรรมเป็นอนัตตา อย่าไปยึด ดังที่กล่าวแล้วว่ายาของใครก็ของมัน ไม่มียาที่รั

เคล็ดลับการใช้การทำงานเป็นการปฏิบัติธรรม

รูปภาพ
หลายท่านคิดว่าการปฏิบัติธรรมเหมือนการเรียนในห้องเรียน มีครูมาบรรยาย สอนให้ฟัง แล้วเราจะบรรลุธรรมได้ อันนี้ เข้าใจผิดกันไปเยอะมากครับ เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นการปฏิบัติทางจิต ไม่ใช่การนั่งฟังการบรรยายหรือใช้สมองคิดหาทฤษฎีอะไรทั้งนั้นครับ ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้ครับ     ๑ ทำอะไรก็ได้สำคัญที่ “ใจ” ข้อแรก ข้อนี้สำคัญที่สุดเพราะการปฏิบัติธรรมนั้นมี “ใจเป็นประธาน” ดังนี้ ไม่สำคัญว่าเราจะต้องไปเข้าวัด นั่งสมาธิอะไรเลย เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ตามปกติก็ปฏิบัติธรรมได้ ทว่า นี่ไม่ได้หมายความว่าปุถุชนทุกคนก็กำลังปฏิบัติธรรมอยู่นะ เหมารวมแบบนั้นไม่ได้ เพราะมีบางคนที่ปฏิบัติธรรมเป็นและไม่เป็น การที่เราจะปฏิบัติธรรมเป็นนั้น จะต้องมี ปริยัติมาก่อน แล้วจึ ง ไปสู่การปฏิบัติ และปฏิเวธในท้ายที่สุด ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ ใครก็ปฏิบัติธรรมได้โดยที่ไม่มีพื้นฐานปริยัติอะไรเลย จะก้าวข้ามขั้นไปสู่การปฏิบัติและปฏิเวธได้อย่างไร? เอาละ เมื่อได้ปริยัติแล้ว ก็จะเข้าใจว่าอะไรก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ใจเรา ทำอะไรก็ได้ แต่ให้ทำที่ใจเรานี่เอง ๒ ปฏิบัติธรรมที่ใจทำยังไง? จุดมุ่งหมายสำคัญของการปฏิบัติธ

ลักษณะธรรมปัจจุบัน ๕ ประการ

รูปภาพ
ในหลายบทความก่อนๆ ได้กล่าว ถึง ธรรมปัจจุบันบ่อยๆ หลายคนอาจสงสัยว่าธรรมะมีปัจจุบันด้วยหรือ? น่าจะเหมือนอดีตไม่ใช่หรือ? ทำไมต้องมีธรรมใหม่ที่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันที่เรียกว่าธรรมปัจจุบัน? ในบทความนี้จะขออธิบายเพิ่มเติมในความหมายที่ไม่มีในตำราทั่วไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน ดังต่อไปนี้     ๑ เ ปลือกและแก่นของธรรมปัจจุบัน “สัจธรรมทั้งหลายมีแก่นแท้เดียวกัน” แต่มีเปลือกเป็นสมมุติ ที่ต่างกันไปเท่านั้นเอง ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึ ง เทศนาธรรมะอยู่เรื่อยๆ ไม่ได้กล่าวแต่เรื่องนิพพานอย่างเดียวตลอดเวลา พระไตรปิฎกจึ ง มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทว่า ไม่ว่าจะเป็นธรรมหมวดใด เช่น อริยสัจสี่, อิทธิบาทสี่, ขันธ์ห้า, มรรคแปด ฯลฯ ก็ล้วนเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นทั้งสิ้น หากพระพุทธเจ้ายังไม่ละสังขาร ท่านก็จะแสดงธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและผู้ฟังไปเรื่อยๆ เราจะเห็นพระธรรมหมวดใหม่ๆ อีกเรื่อยๆ มากมาย เห็นไหมว่าพระธรรมมีใหม่ได้เรื่อยๆ ตามสถานการณ์ ตามแต่ผู้ฟัง นี่คือ เปลือกอันเป็นสมมุติ ทว่า แก่นแท้แล้วก็ไม่แตกต่างกันเลย ๒ “สมมุติในปัจจุบัน” ก็คือ ธรรมะ? หลายคนมักปฏิเสธสมมุติ เพื่อที่จะคว้าห

ลักษณะของอมนุษย์ ๕ ประการ

รูปภาพ
ในหลายบทความก่อนๆ ได้กล่าว ถึง ภาวะความเสื่อมจากความเป็นมนุษย์มามากแล้ว ในบทความนี้จะขออธิบาย ถึง ลักษณะของอมนุษย์กันบ้าง เนื่องจากอมนุษย์นั้นสามารถแทรกอาศัยร่างของคนได้ ทำให้คนๆ นั้นไม่มีความเป็นมนุษย์ ลักษณะของอมนุษย์มีหลายอย่างในบทความนี้ขอยกตัวอย่าง ๕ ข้อ ดังต่อไปนี้     ๑ จิตใจเสื่อมต่ำกว่ามนุษย์ ข้อนี้ทุกท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าคนบางคนมีจิตใจเสื่อมต่ำกว่ามนุษย์ก็มี ปัจจุบันเข้าสู่ยุคของการชำระล้าง มิติลี้ลับได้เปิดออก ทำให้จิตวิญญาณอมนุษย์ออกมาจากมิติลี้ลับเพื่อหาร่างมนุษย์เพื่อบำเพ็ญธรรม ดังนั้น คนจำนวนมากมักตกเป็นร่างของอมนุษย์และทำความผิดที่มนุษย์ปกติเขาจะไม่ทำกัน เช่น ข่มขืนลูกตัวเอง, ค้ายาพิษ, ค้าอาวุธ, ค้ายาเสพติด ฯลฯ เหล่าอมนุษย์ทั้งหลายจะหลอกล่อให้เรา “อยากได้, อยากมี, อยากเป็น” เช่น ให้อยากมีเงินเยอะๆ อยากรวย เมื่อเราต้องการ เขาก็จะทำให้เพื่อแลกกับการที่เราต้องตกเป็นร่างของเขา หลายคนในยุคนี้รวยมาได้เพราะตกเป็นร่างของอมนุษย์ และยอมทำกรรมไม่ดีมากมายดังที่เห็นอยู่ ๒ หวังสูงเกินกว่ามนุษย์ มนุษย์ปกติเจียมตัวว่าเราคือมนุษย์ เราไม่ใช่เทพ ดังนั้น อะไรที่สูงส่ง

ความดีแบบอุปทานเป็นไฉน?

รูปภาพ
หลายคนเข้าใจผิดในพุทธศาสนามาก และคิดว่าพุทธศาสนา “สอนให้เมาดี บ้าความดี” เลยไปบ้าทำความดีกันมากมาย โดยที่ยังไม่รู้เลยว่ามันดีจริงหรือเปล่า? และความดีที่แท้จริงคืออะไร? ทำบนความไม่รู้ ทำบนความมืดบอด คือ อวิชชา หรือความหลงนั่นเอง ในบทความนี้จะขออธิบายความดีแบบอุปทาน ดังต่อไปนี้     ๑ การทำดีแบบมีอุปทาน หลายคนเมื่อจะทำความดีจะคิดก่อนว่าฉันจะทำความดี นี่คือความดีที่ฉันจะทำ ฯลฯ การตั้งใจทำความดีเกินไปนี้เองที่ทำให้เกิด “อุปทาน” ขึ้น ได้ครับ ทีนี้ ความดีที่เราทำทั้งหมดมันจะเป็น “ของเก๊” หมดเลยด้วยเกิดจากอุปทานของเราเองที่ไปตั้งเจตนา ว่าต้องทำความดี อันนี้คือความดีนะ อันนั้นไม่ใช่ความดีนะ พอเห็นภาพนะครับ นี่แหละที่เรียกว่าอุปทาน เราอุปทานความดี ขึ้น มาเพื่อที่จะ “ทำตามแบบ” ที่เราคิดว่ามันคือความดีนั้นๆ แบบนี้เลยไม่เป็นธรรมะ ธรรมชาติ คนไทยพุทธส่วนใหญ่เป็นแบบนี้นะ ชอบไปคิดเอาเองก่อนว่านี่คือความดี นี่คือบุญ ฉันจะทำความดีละ จะทำบุญละ ทีนี้ก็เลยเกิดอุปทาน ขึ้น มาได้ยังไงละครับ ๒ ความดี ขึ้น อยู่กับการมองของคน ดังนั้น เพื่อให้คนชอบ คนพอใจ นิยมและศรัทธาเรา เราจะทำยังไงครับ เราก็

การปฏิบัติธรรมไม่ใช่การทำดีกลบเกลื่อน?

รูปภาพ
หลายคนคิดว่าการปฏิบัติธรรมคือการทำความดีมากๆ ทำบุญเยอะๆ ให้คนยอมรับ เมื่อความดีของเราเป็นที่ประจักษ์ผู้คนยอมรับแล้วเราก็จะสำเร็จธรรม แท้จริงแล้วไม่ใช่เลยครับ การปฏิบัติธรรมไม่ใช่การทำดีเอาภายนอกตัวเช่นนั้น แต่เป็นการ “พัฒนาภายใน” ของเราเองต่างหาก ในบทความนี้จะขออธิบาย ดังต่อไปนี้     ๑ การปฏิบัติธรรมมิใช่การทำดีกลบเกลื่อน หลายท่าน “ไม่กล้าเผชิญหน้ากับความจริง” ว่าตัวเองมีด้านที่ไม่ดี ด้านมืดอะไรบ้าง แล้วพยายามทำความดีมากมายเพื่อ “กลบเกลื่อน” จุดที่ไม่ดีนั้น ผลคือ ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาจิตวิญญาณที่แท้จริงเลย เพราะมีแต่การทำความดีภายนอกมากลบเกลื่อนไว้เท่านั้น มิได้แก้ไขหรือพัฒนาจิตวิญญาณที่แท้จริงของตนเองเลย การทำบุญก็เช่นกันบุญเป็นผลจากการกระทำดีภายนอก หากทำบุญแต่ไม่ทำใจให้เป็นทาน มันก็ไม่ต่างอะไรกับการทำความดีกลบเกลื่อน สิ่งสำคัญของการปฏิบัติธรรมนั้นคือการพัฒนาจิตใจของเรา แก้ไขจุดไม่ดีของเรา ไม่ใช่ว่าจิตใจเสื่อมต่ำ แต่มาทำความดีมากมายเพื่อให้คนยอมรับว่าตนสำเร็จแล้ว? ๒ ต้องกล้าเผชิญหน้ากับความจริงในตน การปฏิบัติธรรมคือการเผชิญกับความจริง บางคนไม่กล้าเผชิญหน้า