บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม 2, 2018

การบำเพ็ญบารมีที่ได้ผลต้องทำอย่างไร?

รูปภาพ
หลายคนลงมาเกิดเพื่อบำเพ็ญบารมี แต่ที่สำเร็จนั้นหาได้ยากนัก หลายคนกลายเป็น “อะไรบางอย่าง” ตามสังคมที่ตนเข้าหาจะกำหนดให้เป็น เช่น เข้าสู่สังคมธรรมะก็ต้องเป็นคนมีธรรมะ ซึ่ง มันอาจไม่ใช่ทางหลุดพ้นเลยเพราะคุณแค่ติดอยู่ในสังคมธรรมแค่นั้น ในบทความนี้จะขออธิบายเทคนิคการบำเพ็ญธรรม ดังต่อไปนี้ ๑ มีเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้อง หากคุณจะปลูกข้าวแต่ไม่มีเมล็ดพันธุ์ คุณไม่สนใจเมล็ดพันธุ์เอาเมล็ดก็ได้หว่านลงไปในนา คุณจะได้ข้าวไหมครับ? เช่นกัน คนเรานั้นหากไม่มี “โจทย์การบำเพ็ญบารมี” ก็เหมือนไม่มีเมล็ดพันธุ์ บำเพ็ญไปมันก็ไม่มีข้าวออกมาได้ การจะได้เมล็ดพันธุ์หรือโจทย์ในการบำเพ็ญบารมีได้นั้น คุณจะต้องไปพบผู้มีบารมีธรรมจริง เช่น พระพุทธเจ้า เสียก่อน หรือพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีธรรมก็ได้ เช่น ปีศาจงูไป๋ซู่เจิน ได้พบพระกวนอิมแล้วได้โจทย์ในการบำเพ็ญธรรมมาว่า “หากต้องการเป็นมนุษย์จะต้องมีความรักที่แท้จริง” ปัจจุบันหลายคนได้แต่บำเพ็ญแบบลองผิดลองถูกกันไปเอง น้อยคนนักที่จะได้พบผู้มีบารมีธรรมจนได้รับโจทย์การบำเพ็ญครับ ๒ หาหมอให้ถูกคน ถ้าคุณป่วยแล้วไปหาสัตวแพทย์ คุณจะหายป่วยไหมครับ? แน่นอนไม่หาย คุณต้องไ

ที่ไหนมีคนที่นั่นมีการบำเพ็ญ

รูปภาพ
“การอยู่ในที่ที่เหมาะสม” คือ ธรรมประการ หนึ่ง แต่ถามว่าที่ๆ เหมาะสมนั้นคืออย่างไร? คือ สถานที่ที่สงบเงียบใช่ไหม? ไม่จำเป็นครับ สถานที่ที่เหมาะสมก็คือ “เหมาะสมกับสิ่งที่เราจะทำ” เช่น ถ้าเราจะขายของก็ต้องอยู่ในที่ที่มีคนแออัด ไม่ใช่ที่สงบเงียบ จริงไหม? ในบทความนี้จะขอกล่าว ถึง สถานที่บำเพ็ญ ดังต่อไปนี้ ๑ ไม่จำเ ป็นต้องเป็นวัด? หลายคนมักคิดว่าจะทำความดี ทำบุญจะต้องไปที่วัดบ้างสถานธรรมบ้าง ฯลฯ แต่ที่ๆ ตนอยู่ตรงนั้นกลับลืมที่จะทำครับ แท้จริงแล้วการบำเพ็ญธรรมมีได้ทุกที่ที่มีคน ที่ใดที่เราพบปะหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนได้ที่นั่นก็มีการบำเพ็ญธรรมได้ เช่น ในเฟส ในเกมออนไลน์ ฯลฯ ถามว่าในที่แบบนี้ ที่ๆ ไม่มีสถานที่นั้นเรามีปฏิสัมพันธ์กันได้ไหม? คำตอบก็คือ “ได้” เมื่อได้ เราก็สามารถบำเพ็ญธรรม, ทำความดี หรือช่วยเหลือคนได้ หลายครั้งที่ผู้เขียนพบปะผู้คนในที่ๆ ไม่มีสถานที่ เช่น ในเฟส, ในเกมออนไลน์ ฯลฯ แล้วช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ช่วยกันให้กำลังใจในการสู้ชีวิต เป็นต้น เห็นไหมว่าทุกที่ที่มีคน ล้วนเป็นที่บำเพ็ญธรรมได้ ดังนั้น อย่าได้ยึดติดครับ ๒ ทำไมฉันต้องเจอที่อย่างนี้? หากคุณมีวิบากกรรม

เราไม่ควรกล่าวเรื่องนิพพาน?

รูปภาพ
ปัจจุบัน “กูรู้” ในอินเตอร์เน็ตมีมากมายเหลือเกิน หลายคนชอบทำตัวเป็นกูรู้ราวกับว่าตรัสรู้ธรรมะแล้วซะอย่างนั้น โดยเฉพาะเรื่องนิพพาน มีหลายคนชอบทำตัวเป็นกูรู้เรื่องนิพพานอย่างมาก ในบทความฉบับนี้ จะขออธิบายเหตุผลว่าทำไมเราไม่ควรเอาเรื่องนิพพานมาพูดเสียเองทั้งที่เราไม่ได้ตรัสรู้แจ้งจริง ดังต่อไปนี้ ๑ เรามิได้ตรัสรู้นิพพาน ผู้ตรัสรู้นิพพานคือพระสม ณโคดมมิใช่เราทั้งหลาย เราทั้งหลายนั้นไม่มีใครตรัสรู้นิพพานเองทั้งสิ้น เราได้รู้มาจากการอ่าน, การฟังเอาทั้งนั้น ดังนั้น การที่เรากล่าวเรื่องนิพพานราวกับว่าเราตรัสรู้เองทั้งๆ ที่ไม่ใช่นั้น ย่อมไม่ดีแน่ เพราะเ ป็นการกล่าวเรื่องที่ตนมิได้ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง แม้ว่าเรื่องนิพพานจะเป็นธรรมะที่ดีก็ตาม แต่การสนทนาเรื่องนิพพานก็ไม่ควรเป็นไปในลักษณะที่เหมือนกับว่าเราตรัสรู้นิพพานเสียเอง ทั้งที่จริงไม่ใช่ ใช่ไหมครับ? หากมีใครสักคนอยากรู้เรื่องนิพพาน แล้วมาเจอเราๆ บอกเขาราวกับว่าเราเป็นผู้ตรัสรู้เอง เขาก็เลยไม่ไปหาผู้ตรัสรู้แจ้งจริง นี่ดีไหม? ไม่ดีแน่นอน แม้ว่าภายนอกเราดูเหมือนทำดี พูดเรื่องนิพพานก็ตาม ๒ ศาสดากับเทวทูต สองอย่างนี้ต้องเข้าใจแล

โลกแห่งความบริบูรณ์ด้วยความไม่สมบูรณ์

รูปภาพ
ในบทความก่อนๆ ได้อธิบายเรื่องราวของโลกนี้ไปมากแล้ว ในบทความฉบับนี้ จะขออธิบายโลกที่เราอยู่นี้ ในมุมมองที่แตกต่างไปบ้าง แต่แก่นแท้ยังคงเหมือนเดิมดุจเดียวกันคือ “ความไม่เที่ยง, ไม่ใช่ตัวตนของตน” เพื่อที่จะทำความเข้าใจโลกของเรา มองโลกในมุมที่แตกต่างออกไป เปิดโลกทัศน์ให้กว้าง ขึ้น ดังต่อไปนี้ครับ ๑ ขาดความไม่สมบูรณ์ โลกก็ไม่บริบูรณ์ หากโลกนี้ขาดความไม่สมบูรณ์ ทุกอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว ทุกอย่างก็จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้อีก เพราะหากมันเปลี่ยนแปลงไปจากความสมบูรณ์ มันก็จะไม่สมบูรณ์อีก ดังนั้น หากโลกมีแต่ความสมบูรณ์ทุกอย่างก็จะนิ่งไปหมด เหมือนถูกสาปให้เป็นหินหรือภาพวาดฉะนั้น ซึ่ง “มันเป็นไปไม่ได้” และเพื่อให้โลกเป็นไปได้อย่างที่มันควรจะเป็น โลกจึ ง ต้องมี “ความไม่สมบูรณ์” อยู่เสมอ เพื่อให้เกิด “ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่ไม่สิ้นสุด” นั้น และเพราะเหตุนั้น โลกจึ ง เคลื่อนไปข้างหน้าได้ ไม่นิ่งสนิทอยู่กับความสมบูรณ์แบบนั่นเอง สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “ความบริบูรณ์พร้อมของโลก” คือ ความบริบูรณ์ไปด้วยความไม่สมบูรณ์ อันก่อให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ น ๒ หน้าที่ของมนุษย์กับความไม่สมบูรณ์ เมื่อเราไ

จิตวิญญาณเหมือนดั่งผลไม้?

รูปภาพ
ในบทความก่อนได้กล่าวว่าเราอาจสูญเสียจิตวิญญาณได้ จิตวิญญาณไม่อาจยึดมั่นถือมั่น หากยึดมั่นถือมั่นจิตวิญญาณเป็นตัวตนของตนก็จะกลายเป็นลัทธิ “อาตมัน” ไป ในบทความนี้จะขออธิบายขยายความต่อว่า “จิตวิญญาณ” ไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้นั้นมีลักษณะอย่างไร อุปมาได้เหมือนผลไม้อย่างไร? ดังต่อไปนี้ ๑ ลัทธินิรัตตาและลัทธิอาตมัน พระสมณโคดมสอนเรื่องอนิจจัง, อนัตตา ดังคำกล่าวว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา” ธรรมทั้งหลายมิใช่ตัวตนของตน จะบอกว่าไม่มีอะไรเลย ทุกอย่างว่างเปล่า แล้วจะฆ่าใครก็ได้เพราะเห็นเป็นความว่าง เช่นนั้นก็มิใช่ แต่จะบอกว่ามีตัวตนแท้ ยึดมั่นถือมั่นได้ เช่น จิตวิญญาณ เป็นต้น นั่นก็ไม่ถูก แนวคิดที่มองทุกอย่างไม่มีตัวตน ว่างเปล่าหมดคือ “ลัทธินิรัตตา” ส่วนพวกที่สุดโต่งไปอีกทาง ยึดจิตวิญญาณเป็นตัวตนแท้ คือ ลัทธิอาตมันครับ สองลัทธินี้ไม่ใช่ทางของพุทธ แต่หลายท่านมักเผลอหลงเข้าไปบ่อยๆ เพราะพุทธเรามิได้สอนว่าทุกอย่างว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย หรือมีตัวตนแท้เช่นอาตมันจะยึดได้ แต่สอนว่าธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงครับ ๒ แม้แต่จิตวิญญาณก็ยึดไม่ได้? ใช่ครับ พระสมณโคดมได้สอนเรื่องอนิจจัง อนัตตาไว้ชัดเจน ธรรม

ศีลเหนือมนุษย์คืออะไร?

รูปภาพ
หลายท่านยังแยกแยะไม่ออกระหว่างความเป็นปกติของ “ปุถุชน” และ “ผู้บำเพ็ญธรรม” บางคนคิดว่าสูงสุดกลับสู่สามัญ เลยไปทำตัวต่ำเสียเลยก็มี ไม่ใช่นะครับ ผู้บำเพ็ญธรรมสำเร็จจะมีจิตใจสูงกว่าเดิม และมีปกติศีลที่สูงกว่าเดิม ในบทความนี้ขออธิบายเรื่อง “ศีลเหนือมนุษย์” ว่ามีปกติเหนือกว่าปุถุชนอย่างไร ดังต่อไปนี้     ๑ ทำไมต้องมีศีลเหนือมนุษย์? เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมสำเร็จมรรคผลแล้ว จิตวิญญาณของเขาจะกำเนิดใหม่สูงกว่าเดิม เช่น บ้างมีจิตวิญญาณเป็นเทพสมณะไม่ใช่แค่มนุษย์ธรรมดา และหากกายสังขารนั้นไม่มีศีลหรือศีลไม่มากพอ จิตวิญญาณที่อยู่ในกายนั้น “จะจรจากร่างไปได้” เพราะอะไร? เพราะหากจิตวิญญาณนั้นยังอยู่ในร่างที่ทำผิดศีล ก็จะเสื่อมจากภาวะที่เป็นอยู่ จิตวิญญาณมักจรจากร่างไปเพื่อความหลุดพ้นไม่ต้องเสื่อมตามสังขารที่ไม่มีศีล หรือมีศีลบกพร่องนั้น เพราะเหตุนี้เอง แม้เราปฏิบัติธรรมได้มรรคผลแล้ว ก็ยังต้องมีศีลและยิ่งต้องมีศีลที่เหนือกว่าเดิมด้วย เพราะหากร่างสังขารเราบกพร่องในศีลแล้ว จิตวิญญาณที่ดีงามในกายของเราก็จะจรจากไปได้ ๒ ศีลเหนือมนุษย์คืออะไร? ศีลคือความเป็นปกติ ทว่า ความเป็นปกติของมนุษย์ก็อย่า

อาการแห่งผู้บรรลุธรรม

รูปภาพ
หลายท่านชอบปฏิบัติธรรมเอง และหลายคนไม่มีครู ไม่ได้ต่อสายธรรมอย่างถูกต้อง อาศัยอ่านเอา ฟังเอา จากสื่อ จากอินเตอร์เน็ตแล้ว “ชอบอุปทานกันไปเอง” โดยมากว่าฉันสำเร็จแบบนี้ๆ โดยที่ไม่เคยได้ผ่านการทดสอบจากผู้รู้แจ้งเห็นจริงเลย ในบทความนี้ จะขออธิบายเรื่องอาการของผู้บรรลุธรรม ดังต่อไปนี้ครับ     ๑ มิใช่ความคิดหรือความรู้ สึก เมื่อบรรลุธรรมนั้นความคิดก็ไม่ใช่ ความรู้ สึก ก็ไม่ใช่ มันเหมือนว่างเ ป ล่าจากความคิดและความรู้ สึก ไ ปหมด ทว่า แม้ความรู้สึกว่าว่างเปล่านี้ก็มิใช่การบรรลุธรรม คนที่บรรลุธรรมนั้นจะดูที่ความคิดหรือความรู้สึกไม่ได้ แต่จะสังเกตุได้จาก “อาการ” ครับ เหมือนคนจะตาย มันจะมีอาการแสดงออกมาตามธรรมชาติ มันไม่ต้องมาคิดว่าฉันจะตายแล้วนะ หรือรู้สึกว่าฉันจะตายแล้ว ไม่ใช่เลย แต่อาการมันออก อาการมันฟ้อง ไม่ว่าเราจะคิดหรือไม่คิด, รู้สึกหรือไม่รู้สึก แต่อาการมันฟ้องตามธรรมชาติ อันนี้โกหกกันไม่ได้เพราะมันคือธรรมชาติของคนจะตาย ย่อมมีอาการต่างๆ ให้เห็นบ้างเป็นธรรมดา คนที่บรรลุธรรมก็เช่นกัน ต้องดูที่ “อาการ” ครับ ๒ อาการบรรลุธรรม บอกไม่ได้ บอกแล้วจะเกิดอุปทานทันที จะต้องมีคนมาเ