บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม 16, 2018

มนุษย์ ๔ แบบเป็นไฉน?

รูปภาพ
ในบทความก่อนๆ ได้อธิบายความหมายของ “มนุษย์” ที่แตกต่างกันและต่างจากเทพและปีศาจอย่างไรไปบ้างแล้ว เพื่อให้ท่านผู้อ่านแยกแยะให้ได้ว่าแม้ภายนอกจะมี “ร่างเป็นคน” เหมือนกันแต่ข้างในอาจไม่ใช่คน ไม่ใช่มนุษย์ก็ได้ ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่อง “มนุษย์” ที่แตกต่างกันในจักรวาลเท่าที่ผู้เขียนค้นพบ ดังนี้ ๑ นิยามของมนุษย์ ก่อนอื่นขอเริ่มต้นจาก “นิยามของมนุษย์” ก่อนนะครับ เพื่อให้เข้าใจเป็นพื้นฐานเหมือนกัน มนุษย์ในที่นี้มิใช่แค่มี “สังขารเป็นคน” แต่ต้องมี “ความเป็นมนุษย์” ด้วย ความเป็นมนุษย์อยู่ที่ไหน? ก็อยู่ที่ “จิตใจ” หรือก็คือ จิตวิญญาณนั่นเอง ความเป็นมนุษย์เป็นอย่างไร? ก็คือ สัตว์ประเสริฐ สัตว์ที่สอนได้ แม้ว่าไม่ได้พิเศษสูงส่งอย่างเทพ แต่ก็เรียนรู้ที่จะทำอย่างที่เทพทำได้ ไม่ได้ต่ำอย่างปีศาจ เพราะมีความเป็นมนุษย์อยู่ มีจิตสำ นึก ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ “ได้เองโดยไม่ต้องสอน” ไม่ต้องมาสอนความดี, ความชั่วอะไร มนุษย์ก็รู้ได้ด้วย “จิตสำ นึก แห่งความเป็นมนุษย์” อยู่แล้ว เช่น จะให้กินเนื้อมนุษย์ด้วยกัน ใครจะทำ? ไม่ต้องสอนใช่มั้ย ๒ มนุษย์โลก มนุษย์ในโลกนี้ถูกสร้างหลายครั้ง ครั้งปัจจุบ

ความเพียรชอบที่หลายคนเข้าใจผิด?

รูปภาพ
หลายคนมักเอา “ความคิดทางโลก” มาปนกับทางธรรม เช่น ความคิดเห็นในเรื่องความเพียร หลายคนก็คิดว่าเข้าใจดีแล้วว่าอะไรคือความเพียร และคิดว่าเข้าใจแล้วว่าอะไรคือ “สัมมาวายามะ” ? ทว่า ความจริงแล้วเขาเข้าใจผิด เพราะยังไม่ได้ปฏิบัติธรรมจนได้มรรคผล ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องสัมมาวายามะ ดังนี้ ๑ เริ่มต้นจากสัมมาทิฐิให้ได้ก่อน ในมรรคมีองค์แปดนั้นมีสัมมาทิฐิเป็นประการแรกเพราะอะไร? เพราะก่อนที่คุณจะก้าวไปสู่การทำอะไรก็ดี คุณจะต้องมี “ความเห็นชอบ” คิดเห็นตรงทาง ตรงความจริงให้ได้ก่อน หากยังไม่มีสัมมาทิฐิ สิ่งที่ทำลงไปก็ไม่ตรงทาง ต่อให้เดินไกลแค่ไหน? พยายามเท่าไร? มันก็ไม่สำเร็จยังเป้าหมายได้สักที จริงไหมครับ? เพราะเริ่มต้นมันไม่ตรงทางแต่แรก เอาละ ก่อนอื่นคุณต้องมาปรับความเข้าใจให้ตรงเรื่องความเพียรชอบก่อนครับ ว่ามันคืออะไร คนทางโลกที่ขยันกันอยู่นั้นมีสัมมาวายามะไหม? ไม่มีหรอก ถ้ามีแล้วก็ไม่ต้องมีพระพุทธเจ้ามาโปรดอีกจริงไหม? เพราะยังไม่มีใครตรัสรู้ ก็เลยต้องมีผู้มาโปรดชี้ทางให้ เพื่อให้เริ่มต้นตรงทางได้แท้จริง ๒ สัมมาวายามะคืออะไร? สัมมาวายะมะหรือ “ความเพียรชอบ” คือ ความเพียรที่พอดี

สัมมาอาชีวะไม่ใช่อาชีพ?

รูปภาพ
สัมมาอาชีวะมักถูกแปลว่า “อาชีพชอบ” แต่แท้แล้วมันไม่ใช่อาชีพแบบปุถุชนเข้าใจครับ เช่น การเป็นพระคืออาชีพหรือเปล่า? ก็ไม่ใช่ แต่พระมีสัมมาอาชีวะได้ ส่วนฆราวาสที่มีอาชีพหลายคนกลับไม่มีสัมมาอาชีวะ ในบทความนี้จะขออธิบายว่าทำไมกล่าวว่าพระมีสัมมาอาชีวะแต่คนที่มีอาชีพกลับไม่มีสัมมาอาชีวะ ดังนี้ ๑ การดำรงอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องมีอาชีพครับ หลายคนเข้าใจผิดตรงนี้มากเพราะคำแปลที่ว่า “อาชีพชอบ” แต่หากลองพิจารณาดูดีๆ พระนั้นมีมรรคมีองค์แปด พระพุทธเจ้าก็มี ดังนี้ ท่านมีสัมมาอาชีวะได้โดยที่ไร้อาชีพ จริงไหม? ส่วนคนที่มีอาชีพทางโลกแต่ไม่เคยปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาจนได้มรรคผลนั้น อยู่ๆ จะบอกว่ามีมรรคแปด มีสัมมาอาชีวะ ไม่ได้หรอก “เพราะเขายังไม่ได้มรรคผล” ไม่มีมรรคแปดและผลสี่ทั้งนั้น เหตุนี้ จึ ง กล่าวว่าพระมีสัมมาอาชีวะได้ (หากสำเร็จมรรคผล ) แต่ฆราวาสทั่วไปที่มีอาชีพกลับไม่อาจมี สัมมาอาชีวะ ทีนี้ พอเข้าใจนะครับ ต่อไปเราจะมาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “สัมมาอาชีวะ” ให้ตรง กันใหม่ ๒ ต้องมีสัมมากัมมันตะก่อน บทความก่อนได้อธิบายเรื่องสัมมากัมมันตะหรือ “การกระทำชอบ” ไปแล

สัมมากัมมันตะ ๔ แบบ

รูปภาพ
“สัมมากัมมันตะ” หรือการกระทำชอบ , การ กระทำที่พอดีนั้น หลายท่านอาจตีความแตกต่างกันไปได้ ด้วยคำว่า “พอดี” ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ถามว่าเราจะใช้อะไรตัดสิน? ในบทความนี้จะขออธิบายขยายความความหมายของคำว่า “สัมมากัมมันตะ” ให้เข้าใจตรงกันโดยจำแนกสัมมากัมมันตะเป็น ๔ แบบ ดังต่อไปนี้ ๑ สัมมากัมมันตะคืออะไร? ในมรรคมีองค์แปดนั้นมี “สัมมากัมมันตะ” ที่แปลว่า “การกระทำชอบ” อยู่ด้วย ถามว่าอะไรคือการกระทำชอบ? คำตอบก็คือการกระทำที่พอดีไม่ก่อกรรมมากเกินขอบเขต เกินเลย เกินไป แต่ก็ไม่ใช่ไม่กระทำอะไรเลย วันๆ อยู่เหมือนซอมบี้ผีดิบ ซังกระตายเหมือนพระอิฐพระปูนไปวันๆ ไม่ใช่ครับ ทีนี้ ถามว่าแล้วการทำแบบพอดีๆ ไม่เกินเลยนั้นเป็นอย่างไร? ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายขยายความให้อ่านกันครับ สรุปว่า การกระทำชอบหรือการกระทำที่พอดีไม่เกินเลยขอบเขตนั้น เราจะต้องพิจารณา “ตัวผู้กระทำ” ด้วย ว่าเป็นใคร เช่น ปุถุชนทั่วไปฆ่าคนไม่ได้ แต่ทหารฆ่าศัตรูในสนามรบได้ อันนี้ก็แตกต่างกันแล้ว จริงไหมละครับ?   ๒ การกระทำชอบแบบมนุษย์ มนุษย์มีเจตจำนงเสรีที่จะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้เพราะมนุษย์นั้นไม่มีฤทธิ์อย่างเทพ การกระทำของมนุษ

ผู้มีปัญญาจะดำรงอยู่อย่างไร?

รูปภาพ
เมื่อบุคคลใดบรรลุธรรมมีปัญญาสว่างไสวแล้ว เขาจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างไร? เขาจะดำรงอยู่ในโลกนี้อย่างไร? คำถามเหล่านี้ หลายท่านอาจอยากทราบ ปกติแล้วเขาจะไม่บอกกันเพราะอะไร? เพราะกัน “ตัวปลอม” มาอ่านแล้ว “ลอกเลียนแบบ” หรือกันไม่ให้เกิดอุปทานเสียก่อน ในบทความนี้ขออธิบายดังนี้ ๑ ผู้มีปัญญาไม่อยู่อย่างพระอิฐพระปูน หลายคนเข้าใจผิดในพระอรหันต์มากๆ เพราะความเคยชินที่กราบไหว้พระพุทธรูปมานาน ก็เลยติดภาพว่าผู้บรรลุธรรมจะต้องนั่งนิ่ง บื้อใบ้ ไม่พูดจา ไม่ตอบโต้กับใครเหมือนพระพุทธรูปนั้น “ทว่า มนุษย์ไม่ใช่พระอิฐพระปูน” มนุษย์มีชีวิตจิตใจ มีอารมณ์ได้ตามปกติ หากไม่มีก็ผิดปกติ หากผิดปกติ ก็แสดงว่า “ศีลบกพร่อง” แต่แรกแล้วครับ ทว่า หลายคนมัก “ลุ่มหลง” ผู้ผิดปกติ ไม่ใช่มนุษย์ แต่แสดงละครเก่งแนบเนียน ทำตัวดีจนราวกับเป็นพระโพธิสัตว์มาจริงๆ ถามว่ามีไหม? มีเยอะแยะครับ “คนที่ทำดีเว่อร์ๆ” แต่ไม่ใช่ของจริง ทำให้มีคนลุ่มหลงมากมาย นั่นเพราะเราอยากได้อะไรที่ดีเว่อร์เกินไป จนเกินปกติ ทว่า ผู้มีปัญญาย่อมไม่ใช่เช่นนั้น ๒ ผู้มี ปัญญาจะไม่ทำอย่างเป็นตัวตน ดังที่กล่าวแล้วว่าผู้มีปัญญาไม่ใช่พระอิฐพระปู

การให้อภิสิทธิ์กับชนชั้นสูง

รูปภาพ
การปกครองโลกธรรมที่ดีนั้นจะต้องทำให้สัตว์ทั้งหลายรู้ว่าการปล่อยตัวให้ต่ำนั้นมีแต่จะแย่ การพัฒนาตัวให้สูงนั้นคือทางรอดและดีกว่า “นี่คือกรุณาที่แท้จริง” เพราะหากคุณทำใจดีกับคนที่ทำตัวเสื่อมต่ำ จนเขาหลงเพลินปล่อยตัวให้เสื่อมต่ำ เขาอาจต้องตกนรกก็ได้ บทความนี้จะขออธิบายเรื่อง “อภิสิทธิ์” ดังต่อไปนี้ ๑ สถานการณ์ ปัจจุบัน ปัจจุบันสังคมกำลังหลงทิศผิดทาง “นิยมความต่ำ” อันเกิดจากการสร้างกระแส “คนรากหญ้า” ที่หลายคนเข้าใจผิด บิดเบือน จนทำให้เกิด “ค่านิยมความต่ำ” อันเป็นค่านิยมผิดๆ เช่น การเต้นแกว่งอวัยวะเพศ, การเต้นร่อนเอว ฯลฯ ทำตัวต่ำๆ เพื่อจะได้ตลาดล่าง ให้คนรากหญ้านิยม การทำตัวเสื่อมต่ำเพื่อเข้า ถึง กลุ่มคนที่อยู่ฐานล่างนั้นเป็นกระแสที่เกิดมาไม่นานนี้ หากปล่อยไว้นานวันเข้า คนในสังคมอยากได้ดีก็จะพากันไปทำตัวต่ำๆ เพื่อให้ได้ความนิยมจากคนชั้นล่าง เพื่อให้คนชั้นล่างหนุน ไม่ว่าจะทำอะไร จะขายของ จะสร้างตราสินค้า จะโปรโมทดารา ฯลฯ แบบนี้ ไม่ดีแน่นอน สังคมจะพากันลงสู่ที่ต่ำเสื่อมต่ำลง ไม่ใช่ทางที่ถูกต้องครับ ๒ สังคมต้องนิยมจิตใจที่สูง สังคมไทยหนุน “คนมีจิตใจสูง” ให้สูงส่งมานานแล้ว เช่น

ทำไมต้องให้คนอื่นช่วยแก้กรรม?

รูปภาพ
“ผงเข้าตาต้องให้คนอื่นช่วยเอาออก” ฉันใดก็ฉันนั้น เจ้ากรรมนายเวรแค้นเรามาก เราต้องให้คนอื่นที่เขาไม่มีความแค้นต่อกันเป็นตัวกลางช่วยเคลียร์ จริงมั้ย? เอาละ หลายท่านอาจเห็นแย้งในประเด็นนี้มากมาย จะขออธิบายขยายความเพิ่มเติมก็แล้วกันว่าทำไมเราควรให้คนอื่นช่วยแก้กรรมให้ ดังจะอธิบายต่อไปนี้ครับ ๑ ไม่ใช่ให้ไ ปหลงผู้วิเศษ อย่างแรกคุณควรเข้าใจให้ตรงว่าบทความนี้ไม่ได้ให้คุณไปหลงผู้วิเศษใดๆ ทั้งสิ้น และคนที่ช่วยเราเขี่ยผงที่เข้าตาให้เรา เขาก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้วิเศษอะไรหรอก จริงไหมครับ เพียงแต่เขาอยู่ในจุดที่เขี่ยผงให้เราได้ ก็แค่นั้นเอง เหมือนราชสีห์กับหนูไงครับ หนูไม่ได้วิเศษเลอเลิศมาจากไหน แต่ช่วยราชสีห์ที่ติดบ่วงได้ เพราะตนไม่ได้ติดบ่วงไปด้วยนี่ จริงไหมครับ? เช่นกัน เมื่อคุณมีกรรม เจ้ากรรมนายเวรไม่ยอมปล่อยคุณเสียที นั่นไม่ได้หมายความว่าเจ้ากรรมนายเวรจะร้ายกับคนทุกคนนะ คนที่มาช่วยเราได้ อาจเจรจากับเจ้ากรรมฯ นั้น ให้ประนีประนอมกับเรา ก็ได้ และคนๆ นั้นไม่ต้องวิเศษอะไร เพียงเพราะเจ้ากรรมไม่มีแค้นต่อเขาเท่านั้นเอง ๒ ไม่ใช่ให้เราเ ป็นปัจเจกพุทธะ หากคุณไม่บำเพ็ญบารมีร่วมกันใครเลย