บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม 20, 2018

หยุดค้นหาคำตอบตายตัวใดๆ

รูปภาพ
ในบทความก่อนๆ ได้กล่าว ถึง “ธรรมอัตตามันเกิด ธรรรมะ ธรรมชาติ หนึ่ง เดียวมันก็ดับไป” วลีนี้มีปริศนาซ่อนอยู่ครับ กล่าวคือ การเกิด ขึ้น ของธรรมอัตตา ทำให้ธรรมะ ธรรมชาติ หนึ่ง เดียวดับไปได้อย่างไร?   ในบทความนี้ จะขอนำมาอธิบายจำแนก, แยกแยะ ให้เห็นเป็นข้อๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้ครับ ๑ ธรรมะ ธรรมชาติ หนึ่ง เดียวคืออะไร? คือ ความเป็น หนึ่ง เดียวกันของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทุกสิ่งทุกอย่างก็คือธรรมะ ธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่มีมากหรือน้อยกว่านี้ ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องลด ทว่า การเพิ่มและการลดก็ล้วนเป็นส่วน หนึ่ง ของธรรมะ ธรรมชาติด้วย นี่คือ “ความบริบูรณ์พร้อมของธรรม” เมื่อธรรมะเป็น หนึ่ง เดียวกันอยู่แล้ว เราจะไปตัดออกทำไม? หลายคนชอบไปตัดธรรมะที่คิดว่าไม่ใช่หรือผิดออกไป เหมือนกับการทำข้อสอบปรนัยที่ต้องตัดตัวเลือกออกไป แล้วเลือกเอาแต่ตัวเลือกที่ใช่ ที่ดี ที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว ไม่ใช่นะครับ ชีวิตจริงๆ ไม่เหมือนข้อสอบปรนัยเช่นนั้น “ทุกสรรพสิ่งน่ะละ เป็นธรรมะ ธรรมชาติอยู่แล้ว” การแสวงหาสัจธรรมที่ถูกที่สุด นั้นมิใช่ทางที่ถูกต้องครับ น ๒ “ธรรมะอัตตา” เกิด ขึ้น ได้อย่างไร? ธ

ค้นหาทางชีวิตที่เรากำหนดเองกันเถอะ

รูปภาพ
ในบทความก่อนๆ ได้กล่าวแล้วว่าเราเองคือผู้กำหนด, วางแผน, เลือกชีวิต ฯลฯ ให้ตัวเราเองมาเกิด มาเป็นในชาตินี้ สิ่งนี้มิใช่สิ่งที่เราจะต้อง “เพิ่งมาทำ” แต่ทำมานานแล้วก่อนเราเกิดเสียอีกด้วย “ตัวตนหลากหลายมิติ” ของเราโดยเฉพาะตัวตนเบื้องสูง ในบทความนี้ขออธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมาก ขึ้น ดังต่อไปนี้ครับ ๑ ทำไมต้องเ ป็นตัวตนเบื้องสูงกำหนด? คำถามนี้ง่ายมากเลย คุณลองไปยืนบนดาดฟ้าสูงๆ ก็จะรู้ว่ามุมมองที่คุณเห็นมันกว้างไกลแค่ไหน มันต่างจากมุมมองที่คุณเห็นยามเมื่อเดินบนพื้นดินแค่ไหน? อย่าลืมภาวะ “ตัวตนหลากหลายมิติของคุณ” ว่าคือ “อนัตตา” เมื่อใดที่คุณติดตัวตนเชิงสังขารตัวนี้ตัวเดียว คุณก็จะสร้างอัตตาอันโตพองให้ตัวตนเชิงสังขารนี้ของคุณ คุณจะหลงลืมตัวตนหลากหลายมิติของคุณ ลืมตัวตนเบื้องสูงของคุณ และคุณจะขาดศรัทธาในตัวตนเบื้องสูงนั้นที่วางแผนชีวิตให้คุณได้ในระยะยาวไกล ด้วยญาณหยั่งรู้ที่ไปได้ไกลกว่าตัวตนเชิงสังขารนี้ของคุณมาก เมื่อคุณ “สัญญาณขาด” กับตัวตนเบื้องสูง คุณจะเหมือนว่าวสายขาด และหลงทางในที่สุด น                                                                            

ชีวิตที่ดำเนินไปด้วยธรรมชาติจัดสรร

รูปภาพ
แท้แล้วเราทั้งหลายได้เลือกชีวิตเองก่อนที่เราจะลงมาเกิดเสียอีก เมื่อเราเลือกที่จะเป็นเช่นที่เราเป็นอยู่นี้ เรารู้ เราเห็นว่ามันคือทางเลือกที่ดีที่สุดในการพัฒนาจิตญาณของเราเอง เราเลยเลือกทางนี้ ทว่า เมื่อลงมาเกิดแล้วเราก็หลงลืมมัน เริ่มปฏิเสธมัน เริ่มปฏิเสธธรรมชาติที่เราเป็น ในบทความนี้ขออธิบาย ดังต่อไปนี้ครับ ๑ ธรรมชาติจัดสรรทุกอย่างบริบูรณ์แล้ว ไม่ว่าคุณจะเกิดมาเป็นอย่างไร? จะรวยหรือจน? จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย? ทุกอย่างล้วนมี “เหตุผล” ของมันทั้งสิ้น เมื่อคุณเข้าใจเหตุปัจจัยตามหลักอิททัปปัจจยตา คุณจะยอมรับทุกอย่างที่มีอยู่ ที่เป็นอยู่ได้ และอยู่กับมันโดยไม่ฝืน ไม่ข้อง ไม่ขัด ไม่ต้าน ไม่ตาม ฯลฯ ต่อธรรมชาติรอบตัว เพราะทุกอย่างได้รับการจัดสรรมาอย่าง “พอดี” แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องไปทำให้มันพอดีอีก เช่น บางคนเกิดมาเป็นผู้หญิงบวชพระไม่ได้ เพราะตัวเขาเองเลือกที่จะมาในรูปลักษณ์นั้น อวตารมาเป็นหญิง ไม่ได้ต้องการเป็นชาย ไม่ได้ต้องการบวชหรือมาเป็นพระ บางคนเกิดมาจน ก็เพราะเลือกมาบำเพ็ญในรูปลักษณ์นั้น อวตารมาเป็นชาวนาที่ยากจน เป็นต้น                                                    

พละห้าไม่สมังคีดูอย่างไร?

รูปภาพ
พละห้าได้แก่ ศรัทธา, วิริยะ, สมาธิ, สติ, ปัญญา นั้นจะต้องสมดุลพอดีกัน เหมือนดั่งแขนขาและอวัยวะของคนที่ประสานงานกันได้อย่างดี แต่ถ้าพละห้าไม่สมังคีกันแล้วผลจะเป็นอย่างไร? ในบทความนี้จะขออธิบายวิธีสังเกตุว่าพละห้าของท่านไม่สมังคีกันด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องมีญาณหรือตาทิพย์ก็ดูออกได้ ดังต่อไปนี้ครับ ๑ แข็งทื่อเหมือนท่อนไม้ตายซาก กรณีนี้เกิดได้เมื่อมีสมาธิมากกว่าพละห้าตัวอื่นหรือสติอ่อนกำลังลง เมื่อไม่มีสติรู้เท่าทันสภาวะธรรมรอบตัวที่เกิดดับ ก็เหมือนคนตายแล้วหรือท่อนไม้ท่อน หนึ่ง ที่แข็งทื่อหรือตายซากอยู่ฉะนั้น ย่อมไม่มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบตัว หลายคนมักคิดว่าภาวะนี้เป็นภาวะของพระอรหันต์ ทว่า จริงๆ แล้วเป็นภาวะของความไม่สมังคีกันของพละทั้งห้าครับ หลายคนชอบอุปทานไปเอง คิดฝันไปเองว่าพระอรหันต์จะต้องแข็งทื่อเหมือนท่อนไม้หรือพระอิฐพระปูนที่ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ อันนี้เข้าใจผิดกันไปเองนะครับ ลักษณะของการแข็งทื่อจนไม่มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบตัวได้ตามปกตินี้ เพราะพละห้าไม่สมังคี เพราะสติอ่อนกำลังนั่นเองครับ                                                                       

เคล็ดลับการปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาส

รูปภาพ
ในบทความก่อนๆ ผู้เขียนได้กล่าว ถึง การปฏิบัติธรรมในเพศฆราวาสไปแล้วหลายครั้ง ในบทความนี้จะขออธิบายเคล็ดลับในการปฏิบัติธรรม ที่มีประสิทธิภาพ หวังผลได้ ให้อ่านกันแบบง่ายๆ เพลินๆ ไม่ยากนะครับ เพื่อให้ผู้ที่เริ่มต้นการปฏิบัติธรรมได้มีแนวทางการปฏิบัติแบบสั้นๆ ง่ายๆ เน้นความเรียบง่าย ดังต่อไปนี้ครับ ๑ เลิกยุ่งเรื่องชาวบ้าน สนใจพัฒนาตนเอง อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมากครับ แต่หลายคนยังทำไม่ได้ เพราะชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน ชอบไปสอนคนอื่น ปะทะคารมถกเถียงหาความถูกผิดกันอยู่ แท้จริงแล้ว เราจะมีความสุขหลุดพ้นได้จริงหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับคนอื่นเลย ต่อให้เถียงชนะทุกคน แต่ถ้าเราเครียด ความดันสูง เราก็หนีไม่พ้นทุกข์ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมที่ได้ผล จะต้องเริ่มต้นจาก “การพัฒนาตัวเอง” หยุด ละเลิก การไปวุ่นวายกับเรื่องนอกตัวครับ อันนี้พูดเหมือนง่าย แต่ทำจริงแล้วยาก เพราะคนเรามัก “เป๋” ออกนอกลู่นอกทางบ่อยๆ ชอบไปยุ่งกับเรื่องนอกตัวบ่อยๆ จนลืมตัวเอง ลืมตัวลืมตน ลืมว่าตัวเองมีสภาพอย่างไร? จิตใจตกต่ำแค่ไหน? เพราะมัวเอาชนะคนอื่นบ้างก็มีครับ ๒ เลิกพูดพล่ามธรรมะ ปิดปากแล้วปฏิบัติ คนที่เขาสนทนาธรรมกันนั้น