บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม 14, 2018

ยุคสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ที่สี่

รูปภาพ
“ยุคพุทธกาลของพระพุทธเจ้า” มีความยาวนานกว่าอายุขัยของมนุษย์ และไม่ได้จบแค่ชาติเดียว ไม่ได้จบแค่เมื่อพระสมณโคดมละสังขารเท่านั้น กิจทางธรรม กิจของพุทธศาสนายังต้องมีอยู่ต่อไปจนครบห้าพันปี ในห้าพันปีนี้ นับเป็นยุคย่อยๆ ได้อีก ในบทความนี้ จะขอยกตัวอย่างยุคย่อยๆ สักห้ายุค ดังต่อไปนี้ครับ     ๑ ยุคจุดเริ่มต้น ประกาศศาสนธรรม คือยุคที่เจ้าชายสิทธิถัตถะออกบวชจนสำเร็จเป็นพระสมณโคดมและออกประกาศศาสนธรรม เพื่อบอกให้รู้ทั่วกันว่ายุคของพระพุทธเจ้าองค์ที่สี่ได้เริ่มต้นแล้ว นับจากนี้ไปจน ๕,๐๐๐ ปี นี่คือ อายุพุทธกาล แม้ว่าพระสมณโคดมที่ทำหน้าที่ประกาศศาสนธรรมได้ละสังขารไปแล้ว ทว่า พุทธศาสนาก็จะยังอยู่จนห้าพันปีนั้น จนเมื่อหมดอายุพุทธกาลแล้ว ทวยเทพทั้งหลายก็จะ “ยอมปล่อยให้ธรรมชาติเป็นไปตามกรรม” สิ่งต่างๆ จะไม่ดี จะเกิดภัยพิบัติมากมายที่เรียกว่าภัยพิบัติล้างโลกน่ะละ อันเป็นเรื่องธรรมดาของการหมดยุคพระพุทธเจ้านะครับ ในยุคเริ่มต้นนี้ จะมีแต่ธรรมะ ความเจริญทางธรรม แต่ทางโลกยังไม่เจริญนัก ค่อยๆ พัฒนาไปครับ ๒ ยุคเฟื่องฟู กษัตริย์สนับสนุน คือยุคที่ “พระเจ้าอโศกมหาราช” ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้

วิสัยที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรมี

รูปภาพ
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นจะมี “วิสัย” บางอย่างที่คล้ายๆ กัน และแตกต่างจากปุถุชน ตาสีตาสาทั่วไป ทำให้มีโอกาสที่จะได้หลุดพ้น สำเร็จธรรมได้อย่างแท้จริง ในบทความฉบับนี้ ขออธิบายวิสัยของนักปฏิบัติธรรมที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรมี เพราะวิสัยเหล่านี้คือ พื้นฐานที่ดี ที่จะบอกว่าคนผู้นั้นสมควรปฏิบัติธรรมหรือไม่ ดังต่อไปนี้ครับ     ๑ เน้นทำให้มากกว่าพูด นักปฏิบัติไม่ใช่นักพูด ไม่ใช่ดีแต่พูดแต่จะต้องทำจริงทำได้จริง แม้ว่าเราจะพูดธรรมะไม่เป็นเลย เหมือนพระป่าหรือคนบ้านนอก ที่ใสซื่อ ไม่รู้หนังสือ ไม่รู้อะไรกับใครเขามาก พูดไม่เป็น เน้นทำอย่างเดียวเท่านั้น แบบนี้ จะมีวิสัยของนักปฏิบัติที่ดีได้ เพราะคำพูดนั้น จะสร้างสรรค์ปั้นแต่งให้ดูดีอย่างไรก็ได้ ให้น่าเชื่อถือยังไงก็ได้ เอาง่ายๆ ผมแค่ไปหาอ่านธรรมะเอาทางเน็ต ผมไม่ได้ตรัสรู้เอง แล้วก็เอามาพูดต่อ ทำตัวให้ดูดีน่านับถือ แค่นี้ก็ได้แล้ว จริงมั้ย? นี่ไม่ใช่นักปฏิบัตินะ หากเราต้องการปฏิบัติธรรมจริง เอาจริง ให้ได้ผลจริง เราจะต้องทำให้มากกว่าพูดให้ได้ หลายคนพูดไกลกว่าที่ตนเองทำได้ ตนยังทำไม่ได้แบบที่พูด แต่พูดอวดเสียก่อนแล้ว ๒ ไม่นิยมพรรคพวก คนที่ชอบคลุ

วิถี “สาวกยาน” วิถีแห่งความปลอดภัย

รูปภาพ
ยุคนี้เป็นยุคของพระพุทธเจ้ามิใช่ยุคของของพระปัจเจกพุทธเจ้า คนที่ปฏิบัติธรรมเองไม่ต่อสายจากพุทธที่แท้จริงนั้น เสี่ยงที่จะเข้าสู่วิถีปัจเจกมาก และส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เพราะมิใช่ยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้าจะถือกำเนิดได้ในตอนนี้ ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่อง “สาวกยาน” ดังต่อไปนี้ครับ     ๑ วิถีแห่งสาวกยานคืออะไร? วิถีแห่งสาวกยานคือ วิถีที่เรายอมเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแล้วเดินตามรอยพระพุทธเจ้า มิใช่ตั้งตนเป็นพระพุทธเจ้า, ศาสดาเสียเอง, เร่หาสาวกเสียเอง ไม่ใช่แบบนั้น พระอรหันตสาวก มีความเป็นสาวกยาน ที่เชื่อฟังและศรัทธาพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันอย่างแท้จริง เพราะรู้ว่าตัวเองไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่อาจตรัสรู้เองได้ จะต้องอาศัยพระพุทธเจ้ามาโปรด จริงอยู่ที่พูดว่าคนเราเท่าเทียมกัน แต่คนเราก็มีความหลากหลายอันแตกต่างกันไป จะบอกว่าเราก็เท่ากับพระพุทธเจ้า เราก็เป็นพุทธะ ทุกคน ไม่ว่าหมาแมวก็พุทธะเหมือนกันหมด แล้วก็หลงตัวเอง ทำตัวเสมอพระพุทธเจ้าแต่เนียนว่าไม่หลง ย่อมมิใช่ทางแห่งสาวกยานอย่างแน่นอน ๒ ทำไมต้องเข้าสู่วิถีสาวกยาน? เพราะทางที่เราไม่เคยเดินมาก่อน สมมุติให้คุณเดินป่าเองดู ค

ธรรมพุทธ-ธรรมจักรวาล

รูปภาพ
หลายท่านอาจได้เรียนรู้ธรรมจักรวาลกันมาบ้างแล้ว อาจสงสัยว่าเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรจากธรรมในสายพุทธ แท้แล้วไม่ว่าธรรมอะไรก็มีแก่นแท้ มีสัจธรรมเดียวกัน ไม่ผิดเพี้ยนจากกันไป ไม่ขัดแย้งกันเลย แต่มีหน้าที่ต่างกัน ใช้ในบริบทที่ต่างกัน ย่อมแตกต่างกันโดย “เปลือกนอก” เท่านั้น ดังจะอธิบายต่อไปนี้ครับ     ๑ ธรรมจักรวาลคืออะไร? ธรรมะ ธรรมชาติ หรือธรรมจักรวาลนั้น คือ สิ่งที่เป็นเช่นนั้นเอง มีความดิบเถื่อนตามธรรมชาติ เหมือนสัตว์ในป่าที่มีการกินกันเป็นทอดๆ นั้น นี่คือ ธรรมชาติ “ไม่มีผิดหรือถูกอะไรเลย” เช่น การที่โลกมีภัยพิบัตินั้นก็ด้วยเป็นกระบวนการวิวัฒนาการของสัตว์ในโลกทั้งหมดเท่านั้นเอง แม้ว่าจะมีหายนะเกิด มีผู้คนล้มตายไปมากมายก็ตาม แต่ว่านี่ก็คือ สัจธรรมความจริง ที่เราไม่อาจหนีพ้นได้ ธรรมชาติของโลกเป็นเช่นนี้ จักรวาลได้สร้างสรรค์ไว้เช่นนี้ มนุษย์เรานั้นก็ได้แต่ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ สัตว์ใดที่ปรับตัวไม่ทันก็สูญพันธุ์ไป สัตว์ใดปรับตัวได้ดี ก็อยู่รอด ไม่มีคำว่าเมตตาสงสารหรือคำว่าโหดร้ายทารุณอะไร ทุกอย่างล้วนเป็นเช่นนั้นเอง ๒ ธรรมพุทธคืออะไร? ด้วยธรรมะ ธรรมชาติมีความดิบเถื่อน ดัง

เทคนิคการ “ปฏิบัติธรรมที่ใจ”

รูปภาพ
ในบทความก่อนๆ ได้กล่าว ถึง การปฏิบัติธรรมว่า “สำคัญที่ใจ” ในบทความนี้ ผู้เขียนอยากจะแนะนำเรื่องเทคนิคการปฏิบัติธรรมที่ใจ ใช้ใจเป็นประธาน ไม่ใช่ใช้สมองหรือความคิดเป็นที่ตั้ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาในการปฏิบัติธรรมของฆราวาสทั้งหลาย โดยได้นำมาจากประสบการณ์ของผู้เขียนโดยตรง ดังต่อไปนี้ครับ     ๑ ใจใสๆ เหมือนเด็กทารก การปฏิบัติธรรมนั้นสำคัญมากๆ คือ เราต้องรู้จัก “จิต” ของเราก่อน จิตของเรานั้นบริสุทธิ์ประภัสสรเหมือนดั่งเด็กทารก ไม่รู้อะไรถูก, ผิด, ดี, ชั่ว ฯลฯ ทั้งนั้น เพราะความถูก, ผิด, ดี, ชั่ว มันไม่ใช่ตัวสัจธรรม แต่มันคือ “มุมมองที่คนมองแล้วคิดว่ามันถูก, มันผิด, มันดี, มันชั่ว” ตามแต่ใครจะมอง ต่างหากละครับ เอาละ เราจะต้องใช้จิตใจที่ใสซื่อบริสุทธิ์อยู่แล้วนี้ ที่เรียกว่า “จิตประภัสสร” นี้ ในการปฏิบัติธรรม หลายคนแยกแยะไม่ได้ เพราะอะไร? เพราะจิตกับวิญญาณเหมือนคู่แฝดกัน ทำงานร่วมกันเหมือนตัวติดกัน ทุกครั้งที่จิตใสๆ ซื่อๆ วิญญาณก็เข้ามาปรุงแต่ง มันก็เกิดสังขาร ฯลฯ ตามมามากมาย เราเลยไม่รู้จักว่าตรงไหนที่เป็นจิต? ๒ หวนกลับมาสำรวจที่ใจ ข้อนี้สำคัญมาก เพราะหลายคนเวลาปฏิบัติธรรมชอ