บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม 30, 2018

มองโลกมุมกลับเพื่อพบทางธรรม

รูปภาพ
ทางโลกกับทางธรรมมักสวนทางกัน คนที่ได้ดีทางโลกทางธรรมมักจะตกต่ำ คนที่ได้ดีทางธรรมก็เหมือนว่าจะดูตกต่ำทางโลก ดังนั้น การมองโลกในมุมกลับ มุมที่แตกต่างบ้าง ก็จะช่วยทำให้เราเห็นโลกในแบบต่างจากเดิม หลุดจากกรอบความคิด ความเชื่อเดิมๆ นำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ ดังจะอธิบายในบทความต่อไปนี้ ๑ ยิ่งได้จากทางโลกน้อยยิ่งดี คนที่ได้จากทางโลกมากยิ่งมีหนี้ทางโลกมาก คนที่ได้ทางโลกน้อยก็จะมีหนี้ทางโลกน้อย เพราะโลกนี้ไม่ใช่บ้านที่แท้จริงของเรา เราไม่ได้มาเพื่อครอบครองอะไรในโลกนี้ เราแค่หยิบยืมใช้ชั่วคราว ทว่า หลายคนหลงอยู่กับสิ่งต่างๆ ในโลก และถูก “ซาตานครอบงำ” ซาตานครอบงำให้หลงกับการได้, การมี, การเป็นอะไรในโลกนี้ ใครเคารพนอบน้อมต่อซาตานก็จะได้รับมาก ใครหยิ่งในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ยอมก้มจำนนต่อซาตานก็จะไม่ได้รับอะไรจากโลก ทว่า หลายคนไม่ทราบเบื้องหลังของโลกนี้ พวกเขาถูกหลอกให้แข่งขันกัน เพื่อให้ได้, ให้มี, ให้เป็นอะไรมากมายในโลก พวกเขายิ่งห่างไกลจากทางธรรมไปเรื่อยๆ และหลงคิดว่าตนดี ๒ ยิ่งให้ทางโลกมากยิ่งชำระได้มาก โลกนี้ไม่ใช่บ้านที่แท้จริงของเรา เรามาโลกเหมือนนักท่องเที่ยวแล้วเราจะต้อง

ดำรงอยู่แบบชาวศรีวิไล (มิติที่ห้า)

รูปภาพ
การดำรงชีวิตของชาวโลกทั่วไปในปัจจุบันเป็นการดำรงชีวิตอยู่แบบมิติที่สาม ทว่า เมื่อมนุษย์เลื่อนระดับไปสู่มิติที่สี่และห้า การดำรงชีวิตก็จะเปลี่ยนไปจากเดิม ดีกว่าเดิม หลายท่านอาจไม่ทราบและจินตนาการไม่ออก บทความฉบับนี้ขอเรียบเรียงจากประสบการณ์มาให้ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ร่วมกัน ดังต่อไปนี้ครับ ๑ คุณภาพชีวิตระดับมิติที่ห้า ชาวมิติที่ห้าจะมีคุณภาพชีวิตสูง ขึ้น กว่ามิติที่สามและสี่ โดยมิได้วัดจากวัตถุหรือเงิน ดังต่อไปนี้ ๑ ชาวมิติที่ห้าจะมีอิสระเสรีเต็มที่ มีเจตจำนงเสรีที่จะทำงานได้อย่างอิสระไม่มีเงื่อนไขในการจ้างงาน ๒ ชาวมิติที่ห้าจะได้รับการดูแลจากจักรวาลหรือพระเจ้า โดยท่านจะส่งผู้บำเพ็ญมาดูแล เช่น ผู้อุปถัมภ์, อุปัฐาก ๓ ชาวมิติที่ห้าจะมีหน้าที่ของตนเองที่ไม่ได้เกิดจากอาชีพและการจ้างงานแต่จะทำด้วยจิตอาสา ๔ ชาวมิติที่ห้าจะได้รับพลังพิเศษบางอย่างทำให้มีความสามารถบางประการมากกว่าเดิม ๕ ชาวมิติที่ห้าจะมีสังคมที่มีระดับ แต่มีคนเข้า ถึง ได้น้อยลงเพราะอยู่ระดับสูง อยู่ยอดพีรามิด ซึ่ง ชาวมิติที่ห้าจะไม่ถือครองวัตถุแต่อยู่ได้ในโลกครับ น ๒ ธรรมนูญระดับสากลจักรวาล ในระดับมิติที่ส

ไม่ยึดมั่นแต่ “พอดี” ?

รูปภาพ
“ความไม่ยึดมั่นมากเกินไปคือความสุดโต่ง คือ ยึดมั่นความไม่ยึดมั่น” หลายคนไปตั้งไปต้อง คือ ตั้งเจตนาว่าจะต้องไม่ยึดมั่นเกินไปจนกลายเป็น “ยึดมั่นความไม่ยึดมั่น” นี่ยังไม่ถูกต้องนะครับ ในบทความนี้จะขออธิบายขยายความเรื่อง “อตัมมยตา” คือ ภาวะที่ไม่เอาอะไรกับอะไรแล้ว ไม่ยึดมั่นแต่ “พอดี” ดังต่อไปนี้ ๑ ติดในรูปแบบ “ความไม่ยึดมั่น” “เฉกเช่นจอมยุทธ์ที่ติดอยู่ในกระบวนท่า” ในที่นี้คือ “กระบวนท่าความไม่ยึดมั่น” อยู่ท่าเดียว เอะอะอะไรก็ ความไม่ยึดมั่นไว้ก่อนจน “มีรูปแบบตายตัว” นี่จัดเป็นการ “ติดในรูป” อย่าง หนึ่ง นะครับ คือ ติดในรูปแบบของความไม่ยึดมั่น นั่นเอง คนที่เป็นแบบนี้มักจะ “ขี้เกียจพิจารณา” ขี้เกียจเจริญสติ เจริญปัญญา กล่าวคือ กูไม่คิด ไม่ใช้ปัญญาห่าอะไรละ เอะอะอะไรก็เอารูปแบบเดิมๆ ไปก่อน เถียงกะใคร พูดกะใครก็อ้างหลักนี้ไว้ก่อนแบบไม่ลืมหูลืมตา แบบไม่ดูว่า “เหมาะสมกับกาลเทศะ” หรือไม่? ไม่มีสติอยู่กับธรรมปัจจุบัน ไม่รู้ว่า ณ ปัจจุบันนี้ อะไรยังไม่ควรปล่อยวาง ติดชินกับการปล่อยวางเสียเสียจนไม่ดูตาม้าตาเรือเพราะ “มืดบอด” ๒ สุดโต่งใน “ความไม่ยึดมั่น” คนกลุ่มนี้มี “มานะทิฐิ” ควา

จิตอย่างไรชินกับการไปสวรรค์?

รูปภาพ
“ตายแล้วไม่สูญ” เป็นคำที่หลวงพ่อฤษีลิงดำเตือนสติบ่อยๆ นิพพานไม่เกี่ยวกับการเกิดหรือไม่เกิด คนละเรื่องกัน หลายคนมักคิดไปเองว่านิพพานเป็นของง่ายๆ ตายแล้วว่างเปล่าไป นั่นคือแนวคิดในลัทธินิรัตตาครับ พุทธไม่สอนแบบนั้น พุทธสอนว่า “อย่าประมาท” ในบทความนี้จะขออธิบายขยายความ ดังต่อไปนี้ ๑ ชินกับคนน้อยมากกว่าคนมาก “คนน้อยไปสวรรค์ คนมากไปนรก” สวรรค์ชั้นสูงๆ ยิ่งวิเวก เช่น พรหมโลก วิเวกและเป็นส่วนตัวมาก วิมานใครวิมานมันอยู่ห่างไกลกัน ไม่มารบกวนกันนอกจากจะมีกิจก็มาเจอกันได้ คนรวยมักชอบวีไอพี คือ จองที่คนน้อยๆ หรือเหมาร้านทั้งร้านกินโต๊ะเดียวเป็นต้น จิตที่ชินกับคนน้อยมักไปสวรรค์ จิตที่ชินกับคนมาก มักไปนรก เช่น ชอบเที่ยวสงกรานต์, ชอบไปที่คนเยอะ, ชอบคอนเสิร์ต, ชอบให้คนแห่มารุมล้อมหรือกราบไหว้ คนเราเกิดมาตัวเดียว ก็ตายไปตัวเดียว เราต้องไม่หลงกับการถูกรักหรือถูกห้อมล้อม อย่าไปสนใจให้คนมานิยม มาไลค์เยอะๆ หรือมาเลือกเราเป็นอะไรมากมาย เพราะคนที่รักเราจริงๆ มันไม่ได้มีเยอะแบบนั้นหรอก ๒ ชอบความวิเวกไม่กลัวเดียวดาย “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” สวรรค์อยู่สูง จะต้องชินกับความวิเวก ความวิเวกไม่ได้หมายคว

“โมฆะบุรุษ” คืออะไร?

รูปภาพ
“โมฆะบุรุษ” เป็นคำที่ปรากฏในไตรปิฏกบ่อยๆ เป็นคำที่พระสมณโคดมใช้เรียกคนบางคนที่เกิดมาเสียชาติเกิด เกิดมาเพื่อทุกข์ทรมานแล้วต้องตายเปล่าโดยแท้ กลับไม่ได้อะไรคุ้มค่าที่ต้องมาเกิด มาทุกข์ยาก และต้องทรมานกับโลกนี้เลย ในบทความนี้จะขอนำคำว่าโมฆะบุรุษมาอธิบายขยายความต่อ ดังต่อไปนี้ครับ ๑ คนเราล้วนถูกทำให้ไม่เป็นเรา คนเราทุกคนเกิดมาถูกสังคมหล่อหลอมให้เป็นอย่างที่สังคมต้องการให้เป็น “เราไม่เคยเป็นเราอย่างแท้จริง” เราทุกคนเหมือน “หนอน” ที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัวเองบินได้ ตัวเองมีอิสระแค่ไหน? เราจะต้องผ่านการทลายตัวตนเก่าของเราก่อนเหมือนหนอนที่เข้าดักแด้ เพื่อทำลายตัวตนหนอนจากนั้นก็จะกลายเป็นผีเสื้อ คนที่ไม่ผ่านกระบวนการนี้ล้วน “เกิดมาตายเปล่าแท้” เพราะเขามีชีวิตอยู่โดยไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เป็นตัวเองจริงๆ มีแต่ตัวตนที่สังคมต้องการ, คนรอบข้างต้องการให้เป็นเท่านั้นเอง เมื่อเกิดมาแล้วไม่ได้เป็นเราอย่างแท้จริงแต่ต้องเป็นใครสักคนที่คนอื่นต้องการ การเกิดมาชาติ หนึ่ง ก็เสียเปล่าเป็น “โมฆะบุรุษ” โดยแท้ อย่างไรละครับ ๒ เราต้องทลายตัวตนที่สังคมหล่อหลอม “ตัวตนตัวหนอน” ที่วันๆ ถูกป้อนด้วยคำ

“ปลาเป็น” ไม่ไหลตามกรรมคืออะไร?

รูปภาพ
“การอยู่เหนือกรรมไม่ใช่ไม่รับกรรม แต่ไม่ไหลตามกรรม” มีความหมายอย่างไร? หลายคนไม่เข้าใจหรือมีความเห็นผิดในเรื่องกรรมอยู่มาก บางคนไหลตามกรรมโดยไม่รู้ตัว ไม่เป็นตัวของตัวเอง บางคนไม่ทำอะไรเลย ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายขยายความเพื่อให้เข้าใจตรงกันเป็น “สัมมาทิฐิ” เบื้องต้น ดังต่อไนี้ ๑ คนที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองมีน้อย? “ส่วนใหญ่ไหลตามกรรม” อย่างไรครับ? สมมุติ นาย ก. มีกรรมต้องถูกด่าทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรผิดในปัจจุบันเลย แต่มีกรรมมาจากอดีตชาติส่งผล นาย ก. จะถูกด่าด้วยคนรอบข้าง คนเหล่านี้ไม่เป็นตัวของตัวเอง ด้วย “ไหลตามกรรมของนาย ก.” พอเข้าใจไหมครับ พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไมต้องด่านาย ก. ผิดอะไรตรงไหน? พวกเขาไม่เป็นตัวของตัวเอง แต่ถูกกระแสวิบากกรรมของนาย ก. พัดพาไปทำให้ต้องด่านาย ก. หากไม่ถูกกระแสวิบากกรรมพัดพาไปเช่นนั้น พวกเขาก็ไม่มีการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น การกระทำของพวกเขา ล้วนไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีอิสระ และไม่ได้ทำด้วยใจของตนเองที่ตนเองอยากจะทำจริงๆ เลยใช่มั้ยครับ ๒ โมฆะบุรุษ เกิดมาว่างเ ปล่าแท้? ลองคิดดูว่าถ้า นาย ข. ไม่มีการกระทำที่เป็นอิสระแบบสัมมากัมมั

“สัมมาทิฐิ” สิ่งสำคัญแรกที่ต้องมี

รูปภาพ
ในบทความก่อนๆ ได้อธิบายเรื่องมรรคแปดไปบ้างข้อแล้ว เช่น สัมมากัมมันตะ, สัมมาวายามะ เพราะมีคนเข้าใจผิดกันเยอะมาก ไปเอา “ความคิดทางโลก” เข้ามาปนกับทางธรรมเช่น คิดว่าทำอาชีพสุจริตคือมีมรรคแปดแล้ว ไม่ใช่ครับ ยังปฏิบัติไม่ได้มรรคผล อยู่ๆ จะมีได้ไง ในบทความนี้จะขออธิบายมรรคตัวแรกต่อ ดังนี้ ๑ ไม่ใช่ทำที่สมองหรือที่ปาก แต่ให้ทำที่ “จิตใจ” ครับ ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน ต่อให้เราคิดธรรมะได้เก่งมาก ปากดี เถียงเก่งชนะพุทธะทุกองค์ได้ แต่หาก “จิตใจเราไม่ตรง” มันก็ไม่หลุดพ้น ไม่ตรงทางหลุดพ้นได้ หลายคนนะ ไม่เข้าใจในจุดนี้ มัวแต่ไปทำที่ปากกลายเป็นพวก “ปากดี” ปากอสรพิษ มัวไปทำที่สมองกลายเป็นพวกคิดเอง อุปทานเก่ง นี่ไม่ใช่เลย คนที่มีจิตตรงทาง, เป็นกลาง เรียกว่าสัมมาทิฐินั้น เขาอาจไม่รู้ธรรมะเลยก็ได้ หรือพูดธรรมะแข่งกับใครไม่ได้เลย หรือพูดไม่ออก พูดไม่เป็นเลยก็มี นี่บอกหลายครั้งนะเรื่องนี้ แต่ก็ยังเห็นพวกปากดี คิดเก่งอยู่เรื่อยๆ ฉลาดเหลือเกิน รู้เยอะเหลือเกิน คิดธรรมะออกมาเอาชนะเขาได้เรื่อยๆ เหลือเกิน แต่จิตไม่ตรง ๒ การแสดงธรรมตามควร? พระพุทธเจ้านั้นท่านไม่ได้แสดงธรรมอวดหรือเอาชนะใคร