บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม 1, 2018

เราไม่ได้มานิพพานกันชาตินี้?

รูปภาพ
“ทุกอย่างย่อมมีวาระของมัน” การที่เราจะได้นิพพานหรืออะไรก็ตาม ก็ต้องมีวาระของมันเช่นกัน สิ่งนี้ไม่ใช่จะทำตามอำเภอใจเราทันทีในชาตินี้ได้ เพราะทุกอย่างถูกวางแผนมาเป็นพันๆ ชาติและซับซ้อนมากกว่าที่คุณจะหยั่งรู้ได้ ทว่า คุณก็จะได้รับมันแน่เมื่อ ถึง เวลาเอง อย่าใจร้อน ดังจะอธิบายในบทความดังต่อไปนี้ ๑ ไม่ต้องรีบ สิ้นพุทธกาลก่อน พุทธศาสนานี้มีอายุห้าพัน ปีโดยประมาณ อาจยาวหรือสั้นกว่านั้นบ้างแต่ก็ประมาณนี้เพื่อให้ท่านเข้าใจว่า “ไม่ต้องรีบ” ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดมาชาติแรกที่เป็นชาวพุทธแล้วต้องได้นิพพานเลย ไม่ใช่นะ ปกติแล้วท่านจะให้เราเวียนว่ายตายเกิดไปก่อนตามกำลังความสามารถเรา แล้วจะเก็บกลับคืน หลุดพ้นก็สิ้นพุทธันดรพอดี แล้วอย่าไปโฆษณาชวนเชื่อหรือให้คำมั่นใครว่าจะให้นิพพานแก่เขาได้ เพราะบางคนเขาไม่ได้ลงมาเพื่อเอานิพพาน แต่เขาแค่มาช่วยกิจพุทธศาสนาเท่านั้นเอง และที่สำคัญไม่ใช่ว่าคนฉลาดต้องนิพพานไปก่อน ยิ่งฉลาด ยิ่งมีกำลังมาก เขาก็จะไม่รีบ เพื่อที่จะช่วยเหลือสัตว์อื่นไปก่อน แล้วตนเองไปทีหลังไงละครับ ๒ หลังจากชาตินี้เราจะไ ปที่ไหน? เมื่อเราไม่ได้นิพพานทันทีในชาติเดียว เราจะต้องมี “แ

ความรักนำไปสู่ทางที่ผิดเสมอ?

รูปภาพ
หากเรายืนหยัดอยู่บนจุดที่ถูกต้อง เราจะลงไปฉุดช่วยสรรพสัตว์ไม่ได้เลยเพราะอะไร? เพราะสรรพสัตว์หลงอยู่ เราจะลงไปฉุดช่วยพวกเขาได้ เราจะต้องเดินไปสู่ทางที่ผิดก่อน เพราะพวกเขาอยู่ในทางที่ผิดนั้น เมื่อใดที่ความรักความเมตตาทำงาน เมื่อนั้นเราจะเดินไปสู่ทางที่ผิดเสมอ ดังจะอธิบายในบทความดังต่อไปนี้ ๑ แท้แล้วไม่มีอะไรถูกหรือผิดเลย? ทางที่ถูกต้องก็คือทางที่เรายังไม่ใช้ความเมตตากรุณาใดๆ เราอยู่บนอุเบกขาด้วยความแน่วแน่ แต่เมื่อใดที่เราใช้ความรักความเมตตา เราจะต้องก้าวออกจากจุดที่ถูกต้องนี้ไ ปสู่จุดที่ผิด เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลายที่รอให้เราฉุดช่วยนั้นอยู่ในจุดที่ยังไม่ถูกต้อง ดังนั้น ไม่ว่าเราจะเลือกทางใด ทางที่ถูกหรือผิด ก็ไม่ใช่ความผิดใดเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทางใดจะถูกต้องด้วย ทุกอย่างก็แค่เหตุปัจจัยที่ปรุงประกอบกันไป เมื่อเลือกที่จะก่อเหตุอย่าง หนึ่ง ก็จะได้รับผลอย่าง หนึ่ง แต่เมื่อเลือกที่จะก่อผลอีกอย่าง หนึ่ง ก็จะได้รับผลอีกอย่างแทน เพียงแต่ว่าการเลือกไปฉุดช่วยสรรพสัตว์นั้นอาจสำเร็จหรือไม่ก็ได้ และเราเองก็อาจหลงทางไปด้วยก็ได้ครับ ๒ ผู้อยู่นิ่งจะส่องนำทางให้คนอื่น เพราะอะไ

กระจกใสแล้วไม่ต้องเช็ด?

รูปภาพ
เป็นคำกล่าวในโศลกของท่านเว่ยหลาง ซึ่ง แสดงว่าท่านมีความเข้าใจเรื่องจิตประภัสสรดียิ่ง หลายคนอาจยกตัวเองด้วยการเอาชนะด้วยคำว่า “ไม่มีกระจก จะเช็ดอะไร” ใช่ไหม? เอาละ ผู้เขียนจะไม่เอาประเด็นอื่น แต่จะอธิบายแค่ประเด็นเรื่อง “จิตประภัสสร” ก็พอ ไว้เป็นพื้นฐาน ดังจะอธิบายในบทความดังต่อไปนี้ครับ ๑ การค้นพบจิตโดยพระสมณโคดม ก่อนหน้านี้พราหมณ์มีภูมิ ปัญญาเรื่องวิญญาณ และคิดว่าวิญญาณคืออาตมัน คือตัวเราแท้จริง ไม่ใช่ร่างสังขารนี้ จนมีความเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะ และกลายเป็นที่มาของคำว่า “อัตตา” ในที่สุด แต่ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าอาตมันกับอัตตาคนละตัวกัน เมื่อใดที่เราหลงคิดว่าวิญญาณคืออาตมันและเป็นอมตะ นี่ละ อัตตาจะเกิดแล้ว กลับมาที่พระสมณโคดมท่านได้ตรัสรู้และค้นพบ “จิต” ในขณะที่พราหมณ์ยุคนั้นไม่มีใครทราบมาก่อน นับเป็นความขัดแย้งทางความเชื่ออย่างแรง เพราะพราหมณ์หลงคิดว่าอาตมันคือวิญญาณแต่พระสมณโคดมกลับค้นพบจิตไม่ใช่วิญญาณ ท่านได้จำแนกวิญญาณไว้ในขันธ์ห้าไม่ต่างจากสังขารครับ ๒ การรจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคใหม่ มีการกล่าวว่าจิตมี 121 ดวง ทว่า นี่ไม่ใช่จิต ประภัสสรนะ เป็นสิ่งที่เรียกว่าจิตส

พุทธไม่สอนเรื่องการรู้ดีรู้ชั่ว?

รูปภาพ
พุทธศาสนาเราสอนเรื่องที่ได้จากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสืบๆ กันมาส่วนเรื่องที่ต่ำกว่าญาณตรัสรู้เป็นสิ่งที่มีมาก่อนพุทธศาสนาจะเกิด อันนี้ ไม่ต้องมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ก็ได้เพราะเป็นแค่เรื่องพื้นฐาน พุทธเขาไม่สอน เช่น เรื่องการรู้ดีรู้ชั่ว อันนี้สอดคล้องกับคำสอนของคริสตร์ ดังจะอธิบายในบทความดังต่อไปนี้ครับ ๑ การสอนให้รู้ดีรู้ชั่วมีมาก่อนพุทธ คนเรานั้นเมื่อเกิดมาเหมือนผ้าขาวบริสุทธิ์ แต่เราจะถูก “คนที่ยังไม่ได้ตรัสรู้” สอนเราต่างๆ นานา ว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนี้ชั่ว ฯลฯ ทารกที่เคยบริสุทธิ์ก็จะกลายเ ป็นผ้าที่ถูกป้ายสีปรุงแต่งแต้มให้เป็นอะไรที่สังคมนั้นๆ มองว่าคือคนดี นี่คือ กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ทว่า พุทธนี้สอนให้เราปลีกวิเวกออกมาจากสังคมเดิมๆ ให้ได้ก่อน เหมือนพระสมณโคดมยังต้องหนีออกมาจากพระราชวังก่อน แล้วมาค้นหา “สัจธรรมความจริง” ด้วยตัวเอง เราจะต้องหลุดพ้นจากสิ่งที่สังคมพยายามป้ายสีให้เราเชื่อ ให้เราเป็นก่อน และสิ่งที่สังคมป้ายสีให้เรานั้นคือ “การรู้ดีรู้ชั่ว” นั่นเอง เช่น สังคมสอนว่าต้องมีเงิน, มีอาชีพนะ จะดี ใครไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ คือ ไม่ดี ( ชั่ว ) ๒ การสำรอกอวิชชาใ

สละอย่างไรให้หลุดพ้น?

รูปภาพ
ในบทความก่อนได้อธิบายแล้วว่าพุทธศาสนาเราสอนเรื่องการสละ ไม่ใช่การทำบุญเอาบุญอะไร บุญนั้นทำแล้วท่านให้กรวดน้ำอุทิศออกให้คนตายให้หมดครับ และพระท่านก็ไม่ต้องทำบุญแล้ว แต่จะมีการปฏิบัติในธรรมวินัยครับ ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องการ “สละ” เพื่อให้หลุดพ้นได้อย่างไร? ดังจะอธิบายต่อไปนี้ ๑ การสละไม่ใช่การทำบุญหรือการให้ บางท่านอาจไม่ได้ทำบุญ ไม่ได้ให้อะไรใครเลย นั่นไม่สำคัญครับ สำคัญที่ “ใจ” ของเราสละออกจริงไหม? ถ้าสละออกได้จริง มันก็ได้ผลจริง ถ้าสละออกไม่ได้จริง มันก็จะยังมีจิตพัวพันอยู่ เอาง่ายๆ บ้านเราๆ ยกให้คนอื่นได้ไหม? ร้อยทั้งร้อย ทำกันไม่ได้หรอกครับ ดังนั้น หลายคนตายแล้วกลายเ ป็นผีบ้านผีเรือนก็มีเยอะไป สาวกบริวารเรายกให้คนอื่นได้ไหม? ร้อยทั้งร้อยไม่ยอมยกให้ใครให้โง่หรอก หลายคนตายแล้วกลายเป็นปีศาจตัวพญา เพราะเหตุนี้ เพราะหลงทางคิดว่าเราทำบุญเยอะแล้ว เราให้คนมามากมาย แต่จิตใจของเขากลับยังยึดติดอยู่กับบางสิ่งบางอย่าง “สละไม่ออก” สละไม่ได้ จิตที่สละออกไม่ได้นี่ละ ทำให้หลุดพ้นไม่ได้ ๒ การสละเ ป็นการเลื่อนระดับของจิต การให้และการทำบุญนั้น จิตวิญญาณไม่ได้เ ปลี่ยนแปลงอะไรนะ

บ้าบุญ บ้าความดี ไม่ใช่พุทธ?

รูปภาพ
การสอนให้คนทำความดี, ทำบุญนั้นมีมานานแล้ว และไม่จำเป็นต้องให้พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้สัจธรรมอะไรก็ได้ แต่เมื่อมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แล้วท่านตรัสรู้อะไร? ซึ่ง มากไปกว่าเรื่องการทำบุญและการทำความดี? ดังนั้น กล่าวได้ว่าคำสอนเรื่องการทำบุญ ทำความดี ไม่ใช่คำสอนของพุทธก็ว่าได้ ดังจะอธิบายต่อไปนี้ ๑ คำสอนเรื่องบุญ - ความดี มีมาก่อนพุทธ เ ป็นคำสอนที่พ่อแม่สอนลูกๆ ในครอบครัวครับ คือ สอนให้ลูกเป็นคนดี ทำกรรมดี ทำบุญ อันนี้ไม่เกี่ยวกับศาสนาอะไรนะ แต่เรื่องกรรมเรื่องบุญนั้นเขามีมานานแล้ว พุทธศาสนาเรานั้นไม่ได้เน้นเรื่องนี้ คำว่า “ทาน” นั้นท่านสอนให้ “สละ” ไม่ใช่ให้เอา แต่คนที่ไปทำบุญนั้นเขาไปทำเพื่อเอาบุญ คำว่าสละของพุทธนั้นเขาจะสละทั้งหมดเรียกว่า “สละทางโลก” แล้วออกบวชเป็น แล้วจากนั้นพระจะไม่ทำบุญอีก เพราะมีคำสอนให้ทำอย่างอื่นครับ พระจึ ง ไม่ได้ทำบุญ ไม่เน้นให้อะไรใคร ไม่เน้นต้องมีเงินไปบริจาคอะไรใคร แต่เน้นเป็นผู้รับ อยู่อย่างผู้รับแทน อันนี้คือ พุทธแท้ๆ เขาเป็นแบบนี้ หลังๆ มากลับกลายเป็นอย่างอื่นไป เพราะความเข้าใจผิด ๒ พุทธสอนเรื่องการสละไม่ใช่การทำบุญ การสละนั้นคุณอาจไม่ได้ให้อ