บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน 9, 2018

คนเราทำกรรมได้แต่อย่าทำบาป

รูปภาพ
หลายท่านเข้าใจเรื่องกรรมมาพอควรแล้ว แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง “ความบาป” ทั้งยังคิดว่ามันเหมือนกันก็มี ไม่ใช่นะครับ บาปกับกรรม คล้ายๆ กันก็จริงแต่ไม่เหมือนกัน หากไม่เข้าใจตรงนี้เราจะสุดโต่งเกินไปครับ บางคนสุดโต่งชนิดไม่ยอมทำกรรมเลย ไม่ยอมกินอาหารปกติเลยก็มี ในบทความนี้จะขออธิบาย ดังต่อไปนี้ ๑ เ ป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีกรรมเลย เป็นไปไม่ได้หรอกครับที่คนเราเกิดมาในโลกนี้แล้วจะไม่มีกรรมเลย ใครบ้างที่ไม่เคยเปื้อนฝุ่น ไม่แปดเปื้อนอะไรเลย? ไม่มีหรอก อย่าเว่อร์ อย่าบ้าตำรา อย่ายึดติดโลกอุดมคติเกินไป สุดท้าย จะสุดโต่งเกินพอดีชนิดที่จะไม่ยอมทำกรรมอะไรเลย ถ้าคุณยอมรับความจริงได้ อยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงได้ คุณจะไม่สุดโต่ง แต่จะมีความ “พอดี” ในการทำกรรม คือ ทำกรรมไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ในฐานะของมนุษย์จะทำได้ครับ เช่น ถ้าเราจะกำจัดวัชพืช มนุษย์เราก็ใช้สองมือถอนหญ้าได้ แบบนี้ทำกรรมได้ พอดี แต่ถ้าเราฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า มันเกินพอดีละ เพราะยาพิษชนิดนี้มันจะส่งผลกระทบเกิดกรรมตามมาอีกมากมาย นั่นเองครับ ๒ เ ป็นไปได้ที่เราจะไม่ทำบาปเลย? แม้จะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ทำกรรมเลย แต่เป็นไปได้ที

ความหลงโลกทั้งห้า

รูปภาพ
ความหลุดพ้นไม่ใช่ของง่าย อย่าประมาทในธรรม จริงอยู่สำหรับพระอรหันต์อาจง่าย แต่ไม่ได้แปลว่าจะง่ายสำหรับทุกคนไปด้วย อย่าคิดว่าพระอรหันต์เทศน์เรื่องนิพพานดูง่าย เราไปฟังมามันง่าย แล้วเราจะมาคิดว่าเราเองก็จะได้แบบนั้นง่ายๆ ด้วย มันไม่ใช่ ในบทความนี้จะขออธิบายเรื่องความหลงในโลกทั้งห้า ดังต่อไปนี้ ๑ โลกแห่ง ปุถุชน ปุถุชนทั้งหมดติดข้องอยู่ในโลกแห่งปุถุชน โลกแห่งปุถุชนนั้นถูกสร้าง ขึ้น โดยผู้ปกครองๆ ก็เหมือนคนเลี้ยงสัตว์ ปุถุชนทั้งหลายก็ไม่ต่างจากสัตว์เลี้ยงในกรง กรงก็คือระบอบการปกครองแบบต่างๆ นั่นเอง ภายในโลกนี้ เราจะถูกสอน, ถูกชี้นำให้คิดว่าอะไรดี อะไรชั่ว เช่น เราต้องมีอาชีพ, ต้องหาเงิน, ต้องทำงาน ฯลฯ แต่เรากลับไม่เคยคิดได้เอง ทำได้เองจริงๆ แม้แต่การทำงานก็ยังมี “เจ้านาย” ไม่ก็ “ลูกค้า” มาคอยสั่งใช้เสมอ ใช่ไหมครับ? โลกของปุถุชนนี้จึ ง เป็นกรงขังแรกที่เราทุกคนต้องพบเจอ ปุถุชนจะไม่คิดอะไรเกินไปกว่าการกิน, ขี้, ปี้, นอน ฯลฯ เราต้องเรียนๆ จบก็ทำงานๆ มีเงินก็มีลูกเมีย แล้วก็เลี้ยงดูลูกเมียไป มีเท่านี้ละปุถุชน ๒ โล กแห่งความฝัน มีคนจำนวนน้อยที่จะหลุดจากโลกปุถุชนออกมาได้ เมื่อหล

ธรรมแห่งพระจักรพรรดิ

รูปภาพ
ในสัปปุริสธรรม ๗ นั้น ได้แก่ รู้จักเหตุ, รู้จักผล, รู้จักตน, รู้จักประมาณ, รู้จักกาล, รู้จักบริษัท, รู้จักบุคคล ท่านได้กล่าวว่าแม้แต่พระจักรพรรดิก็มีธรรมตัวนี้อยู่ ๕ ประการ คือ รู้จักเหตุ, รู้จักผล, รู้จักประมาณ, รู้จักกาล, รู้จักบริษัท นั้นเป็นธรรมสำหรับสัตบุรุษที่น่าสนใจมาก ในบทความนี้จะขอนำมาอธิบายดังต่อไปนี้ ๑ รู้จักเหตุ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิด ขึ้น นั้นล้วนมีสาเหตุเป็นธรรมดา มิได้เกิด ขึ้น โดยลอยๆ หรือโดยบังเอิญ การรู้จักเหตุนั้นทำให้เราทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งๆ หนึ่ง เกิด ขึ้น จากอะไร? ซึ่ง ท่านสอนให้เรารู้จักพิจารณา “เหตุแห่งทุกข์” ที่เรียกว่า “สมุทัย” เป็นสำคัญ เพราะหากเรารู้เหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริงได้ว่ามาจากใจเราเอง เราก็จะไม่โทษผู้อื่น สิ่งอื่น และสามารถจัดการที่ “ใจ” ของเรา การปฏิบัติธรรมโดยเน้นที่ใจก็จะเริ่มต้น ขึ้น ได้ เราก็จะไม่เสียเวลาไปแก้ไขสิ่งอื่น สิ่งใดภายนอก เราจะมุ่งแก้ที่ใจของเราเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้ เรายังจะเข้าใจหลักอิทัปปัจจัยตาที่กล่าว ถึง เหตุและผลของสิ่งต่างๆ ที่ร้อยเรียงกัน โดยความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนของตน ๒ รู้จักผล พุทธศาสนาสอน

ระบบการต้อนสัตว์ของพระศากยมุนี

รูปภาพ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะประทับอยู่ ณ พุทธเกษตร จากนั้นท่านจะวางแนวทางในการโปรดสัตว์ในโลกนี้ยาวเป็นกัปๆ ครับ เพื่อสร้างสิ่งต่างๆ แม้แต่ระบบสามภพของโลกนี้ ท่านก็จะต้องสร้างด้วย ทั้งหมดก็เพื่อต้อนให้สัตว์ทั้งหลายเข้าสู่ทางที่ควรจะไป ในบทความนี้จะอธิบายเรื่องระบบที่พระศากยมุนีใช้ต้อนสัตว์ ดังต่อไปนี้ ๑ หลอกดักพวกที่คิดว่าตนฉลาด พระศากยมุนีพุทธเจ้าเลือกโปรดคนฉลาดไปก่อน คนโง่จะเหลือไว้ให้พระศรีอาร์ อันนี้หลายท่านเข้าใจดีนะ ถามว่าท่านจะทำยังไง? ท่านไม่ได้เดินมาทดสอบความฉลาดแล้วเลือกไปหรอกครับ แต่ท่านออกแบบระบบที่ทำให้คนฉลาดเลือกเดินลงไปเอง กล่าวคือ ระบบในโลกยุคนี้ คนฉลาดจะเอาเปรียบคนโง่ คนฉลาดจะทำกรรมเนียนๆ แล้วบอกว่าตนไม่ได้ทำกรรมอะไร ทว่า นั่นแหละที่ทำให้เขาต้องเดินลงนรกไปเอง เพราะความฉลาดและคิดว่าแนบเนียนพอที่จะทำให้คนไม่เห็นว่าตนเลวได้ นั่นเอง คนฉลาดจะเลือกทางนี้ คนโง่จะไม่ได้ทางนี้ เพราะโง่และคิดแบบคนฉลาดไม่ได้ เมื่อนั้น คนฉลาดก็จะตกหลุมพรางเดินเข้าสู่ระบบที่วางไว้นั้นเอง ๒ ต้อนสัตว์ให้เดินลงนรกไปเอง คนฉลาดจะคิดว่าตนรู้แล้วใครอยากมาสอน สุดท้าย จะกลายเป็นคนที่สอนไม่ได้ พร

กรอบความคิดที่ขวางการปฏิบัติธรรม

รูปภาพ
เคยสังเกตุไหมครับ เวลาที่สนทนาธรรมกับใครหลายๆ คน ต่างคนต่างไม่ได้ฟังกัน ต่างจะพยายามให้คนอื่นฟังตัวเอง สุดท้ายแล้วก็คุยกันไม่รู้เรื่อง บางคนแค่ถามง่ายๆ ก็ไม่รู้เรื่อง เพราะอะไร? เพราะเขาปิดใจอยู่ เขาไม่ได้ฟังเราอยู่ครับ ในบทความนี้จะอธิบาย ถึง “กรอบความคิด” ต่างๆ ที่เป็นดั่งกำแพงในใจคน ดังต่อไปนี้ ๑ กรอบความคิดจากครอบครัว กรอบความคิดจากครอบครัวกักขังให้คนแต่ละคนมี “ระบบความคิดความเชื่อ” ต่างกันไป แล้วยังทำหน้าที่ขวางกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อีกด้วย เช่น บางครอบครัวสอนให้พูดเพราะ พอมาเจอพระอรหันต์ที่ท่านไม่ยึดคำเพราะหรือไม่เพราะเข้า ก็ไม่เปิดใจเรียนรู้แล้ว นี่ละครับ ปัญหาจากการติดอยู่ในกรอบความคิดที่มาจากครอบครัว คนในครอบครัวทั่วไปนั้น ปกติไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่ได้ตรัสรู้จริง เมื่อเราเชื่อในสิ่งที่ครอบครัวสอนมากเกินไป จะทำให้เราถูกบล็อกจากการเรียนรู้ใหม่ๆ เราจะไม่เปิดใจรับฟังสัจธรรมจากพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง แย่กว่านั้น บางคนติดหัวโขนบทบาทในครอบครัว เช่น ความเป็นพ่อ, แม่ นี่ยิ่งขวางกั้นไปใหญ่ ๒ กรอบความคิดจากสังคม กรอบความคิดจากสังคมมีทั้งสังคมย่อยและสังคมใ

ทราบได้อย่างไรว่ากำลังวิวัฒนาการ?

รูปภาพ
บทความก่อนๆ เคยกล่าวแล้วว่าการเลื่อนระดับทางจิตวิญญาณไม่ใช่เรื่องของสมองหรือการเรียนในห้อง แต่เป็นเรื่องของ “การวิวัฒนาการ” ซึ่ง ยุคนี้ก็คือยุคที่จะมีการวิวัฒนาการของมวลมนุษย์อย่างก้าวกระโดดครับ ในบทความนี้จะขออธิบายว่าเราจะสามารถสังเกตุการวิวัฒนาการด้วยตาเปล่าอย่างไร ดังต่อไปนี้ ๑ การเจ็บป่วยแต่ไม่ตาย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว การเจ็บป่วยและการถูกกระทำจากกระบวนการรักษาต่างๆ จะทำให้เกิดการวิวัฒนาการได้ครับ สำหรับคนที่เจ็บป่วยแล้วตายไป ก็คือ คนที่ไม่ผ่านในกระบวนการวิวัฒนาการ แต่คนที่เจ็บป่วยแล้วไม่ตายเสียที แสดงว่า “เขากำลังเข้าสู่กระบวนการวิวัฒนาการ” นั่นเอง ดังนั้น จงอย่าเสียใจที่คุณมีโรคภัย การมีโรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว คนที่มาช้า มายามแก่ เขาจะไม่มีโอกาสได้ใช้ประโยชน์จากความเจ็บป่วย พวกเขาแก่มาก อ่อนแอมาก มีทางเดียวคือตาย ทว่า คนที่มีโรคประจำตัวตั้งแต่อายุยังน้อย พวกเขาถูกกำหนดมาให้วิวัฒนาการ วัยของเขายังแข็งแรงพอที่จะรับมือมันได้ ๒ ความบ้า, โรคทางจิตใจ ผู้ที่เข้าสู่กระบวนการวิวัฒนาการจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในสูงมากๆ จนกระทบต่อสมองและ

จะล้างความลุ่มหลงในปรัชญาได้อย่างไร?

รูปภาพ
ในบทความก่อนได้กล่าว ถึง ความแตกต่างระหว่างปัญญาและปรัชญาเอาไว้แล้ว ทว่า หลายท่านก็อาจยังไม่หลุดพ้นจากวังวนของปรัชญา วังวนของความคิด จึ ง ไม่อาจเห็นสัจธรรมความจริงแบบใสซื่อ ไม่ปรุงแต่ง เหมือนจิตใจของเด็กทารกได้ ในบทความนี้จะอธิบายเพิ่มเติมว่าปรัชญาไม่ใช่ความจริงอย่างไร ดังต่อไปนี้ ๑ ปรัชญาทั้งหลายคือเงาจันทร์ในน้ำ? สัจธรรมความจริงไม่อาจแทนที่ด้วยสิ่งอื่นใดได้ หากมันถูกแทนที่ด้วยสิ่งอื่น สิ่งนั้นย่อมมิใช่สัจธรรมความจริงดุจเดิม ภาษาที่เราใช้นั้นคือ “สมมุติบัญญัติ” ที่เราสร้าง ขึ้น มาเพื่อใช้เรียกแทนสิ่งต่างๆ เช่น คำว่า “ดวงจันทร์” ก็มิใช่ดวงจันทร์ มันเ ป็นแค่ “คำเรียก” ดวงจันทร์ที่แท้จริงเท่านั้น ในขณะที่ฝรั่งอาจเรียกดวงจันทร์ว่า Moon ก็ได้ ปรัชญาทั้งหลายก็มาจากภาษาต่างๆ ใช้เรียกขาน ใช้อธิบาย ทว่า ภายใต้ปรัชญาเหล่านี้จะยังมี “สัจธรรมความจริง” เป็นแก่นสารอยู่หรือไม่? ก็ไม่มีใครทราบ วิชาปรัชญานั้นถูกสร้างมาเพื่อพิสูจน์ ค้นหาในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจะนำทางเราไปสู่ดวงจันทร์ที่แท้จริง โดยอาศัยปรัชญาที่เป็นดั่งเงาจันทร์ในน้ำที่เราเห็นนั้น ๒ วิชาปรัชญาคือเครื่องมือจับเท็จ? วิชา